รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • พระอธิการยงยุทธ ยุตฺตธมฺโม (ปะทิ) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน
  • วรปรัชญ์ คำพงษ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5, ชุมชนบ้านยู้

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 316 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.29) 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนมีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนมีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล

References

กัญมาส เงินชูกลิ่น. (2563). การศึกษาการรณรงค์ชุมชนรักศีล 5 ของตําบลหัวง้ม อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

กัลยาณี สุคชีวิน และ เวชสุวรรณ อาจวิชัย. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 1(1), 1-11.

นุสนธ์ รักษาพล (2564). การดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลกุดแอง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(4), 1-12.

พระมหาก้องไพร สาคโร (เกตุสาคร). (2563). แนวทางการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดอุดรธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 435-448.

พระมหาอนุศักดิ์ จันทราลักษณ์. (2544). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดมหาสารคาม (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

วิศิษฐ์ ทวีสิงห์. (2560). แนวทางการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระนครศรีอยุธยา.

พระมหาพงษ์ศักดิ์ รตนญาโณ (ทองละมุล). (2561). การบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ยุตฺตธมฺโม (ปะทิ) พ., & คำพงษ์ ว. (2023). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(1), 97–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/265885