การบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • พระครูจารุวรรณชัยวัฒน์ - หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน
  • ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, หลักพุทธธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 2. ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 3. นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ประชาชนมีเพศและสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนมีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ
  3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน คือ การบูรณาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ มีความพอใจ ความเพียร ความเอาใจใส่ และความไตร่ตรอง กับการบริหารจัดการ 5 ด้าน คือ ด้านการวางแผน การจัดองค์การองค์การ การบังคับบัญชา การประสานงาน และการควบคุมองค์การ ส่งผลให้การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่

References

ธีรวิทย์ ทองนอก. (2561). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลเมืองหนองปรือ จังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ปกรณ์ มหากันธา. (2556). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ปฐม มณีโรจน์. (2554). สาธารณคดี ภาครัฐในมุมมองนักกฎหมายการเมืองและการบริหาร. กรุงเทพฯ : สุภาภรณ์การพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมศาสนา.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2537). ราชกิจจานุเบกษา 111, พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537. ทำเนียบรัฐบาล : กรุงเทพฯ.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2457). ราชกิจจานุเบกษา 13, พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ : ทำเนียบรัฐบาล.

วาสิตา เกิดผลประสพศักดิ์. (2557). แบบจำลองการบริหารเชิงพุทธบูรณการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

องค์การบริหารส่วนตําบลตาลชุม. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561 – 2565. สืบค้น 7 มิถุนายน 2564, จาก http://www.tanchoom.go.th/

เอเจอร์ แซม. (2554). ธรรมาภิบาลการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ : น้ำฝน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

- พ., & โรจน์กิจจากุล ธ. (2023). การบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(1), 85–95. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/265884