แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, สัปปุริสธรรม 7, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 2. ศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 3. นำเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คนและ สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวางแผนงานบุคคล 2) การสรรหาบุคลากร 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การธำรงรักษาบุคลากร 5) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร
- แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกอบด้วยการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนงานบุคคล 2) การสรรหาบุคลากร 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การธำรงรักษาบุคลากร 5) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร โดยทุกขั้นตอนดำเนินการร่วมกันโดยใช้หลักสัปปุริสธรรม 7
- ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า การดำเนินการบริหารงานบุคคลทั้ง 5 ด้าน มีความสัมพันธ์กับหลักสัปปุริสธรรม 7 ธัมมัญญุุตา เป็นผู้รู้จักเหตุผล อัตถัญญุุตา รู้จักจุดมุ่งหมายและผล อัตตัญญุตา รู้จักตน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ กาลัญญุตา รู้จักกาล ปริสัญญุุตา รู้จักชุมชน ในการร่วมสนทนากลุ่มซึ่งทุกคนเห็นว่ามีความเหมาะสม มีความเป็น ไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ธีระศักดิ์ บึงมุม และ พรพิพัฒน์ เพิ่มผล. (2560). การพัฒนาบุคลากรตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 49 – 60.
พระครูพิศาลปริยัตยานุกูล (อนันต์ วฑฺฒโน). (2555). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ เท่งประกิจ. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. ยะลา.
สุธาวรรณ สุขพัฒน์. (2559). การบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอตากฟา จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.