แนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • นันทาภรณ์ เสวกวัง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูประโชติกิจจาภรณ์ - สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, อิทธิบาท, เขตพื้นที่การศึกษา, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 2. เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คนและการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ดำเนินงานทั้งหมด 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3) ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 6) จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และ 7) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
  2. แนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2)จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3) ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 6) จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และ7) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ โดยทุกขั้นตอนดำเนินการร่วมกันโดยใช้หลักอิทธิบาท 4
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาเครือข่ายบางกุ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า การดำเนินงานทั้ง 7 ขั้นตอนมีความสัมพันธ์กับหลักอิทธิบาท 4 ฉันทะ มีพอใจ เต็มใจในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย วิริยะ ความตั้งใจ ปฏิบัติทำตามแผน จิตตะ เอาใจใส่ในการประเมินผลจากการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของงาน วิมังสา วิเคราะห์ผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข้ ในการร่วมสนทนากลุ่มซึ่งทุกคนเห็นว่า มีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

กานต์สินี วาดวงศ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ธนัญก์สิชณ์ภ์ บำรุงอโญฑ์สกุล. (2563). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระมหากิตติศักดิ์ สิริวฑฺฒโก (หนูสุรา). (2561). การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พัทธ์ธีญา ไพรมุ้ย. (2556). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

สุทิน ยลทรัพย์ศิริ. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิศวกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา (ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24