ผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลเพื่อพัฒนาความสามารถของครูแนะแนว ในการออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรมทางไกล, ครูแนะแนว, การจัดกิจกรรมแนะแนว, การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถของครูแนะแนวในการออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล และ 2. ศึกษาความคิดเห็นของครูแนะแนวที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลเกี่ยวกับการออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูแนะแนวในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ที่จัดกิจกรรมแนะแนวในปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1. ชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2. แบบประเมินความสามารถของครูแนะแนวในการการออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวฯ และ 3. แบบประเมินความคิดเห็นของครูแนะแนวที่มีต่อชุ4ดฝึกอบรมทางไกลฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1. ภายหลังการเข้ารับการฝึกอบรม ครูแนะแนวมีความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสูงขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. ครูแนะแนวมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมทางไกลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ภาษาที่ใช้มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย รองลงมาคือ เนื้อหาสาระ มีความเหมาะสมกับผู้อบรม และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหามีความเหมาะสม
References
ณัฐรัชต์ สาเมาะ และคณะ (2557). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. ในวารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 6(1), 352-363.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพาเรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เรียม ศรีทอง. (2559). การช่วยเหลือและการพัฒนานักเรียนตามหลักการกระบวนการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. ใน นงลักษณ์ ประเสริฐ (บ.ก.), หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา (น.1-10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน พญาไท.
สรานนท์ อินทนนท์, และพลินี เสริมสินสิริ. (2560). การศึกษาวิธีการป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. (น.1396-1406). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสำนึกความรักชาติให้เกิดแก่นักเรียน โดยใช้เนื้อหาและแหล่งวิทยาการทางประวัติศาสตร์ สำหรับครูสังคมศึกษา (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2561 - 2565) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่องการสอนกลวิธีการอ่านสาหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ใน วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 13(1), 1-14.
Shariff, S. (2008). Cyber-Bullying: Issues and solutions for the school, the classroom and the home. Oxon, United Kingdom: Rout ledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.