การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนสมุดอนุทินความเป็นครู ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ข้อผิดพลาดในการเขียน, สมุดอนุทินความเป็นครู, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนสมุดอนุทินความเป็นครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่เก็บข้อมูลจากสมุดอนุทินความเป็นครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 เล่ม ผู้วิจัยประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์ของ โชษิตา มณีใส (2558), พรทิพย์ พุกผาสุข (2555) และสนั่น ปัทมะทิน (2535) เป็นแบบในการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการเขียนสมุดอนุทินความเป็นครูของนักศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ข้อผิดพลาดของการเขียนภาษาไทยในสมุดอนุทินความเป็นครูมี 2 ด้าน คือ 1. ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำ ได้แก่ 1.1 การใช้คำบุพบทผิด 1.2 การใช้คำอาการนามที่ไม่จำเป็น 1.3 การใช้คำสันธานผิด 1.4 การสะกดคำทับศัพท์ผิด 1.5 การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทยผิด 1.6 การใช้คำที่มีเสียงคล้ายกัน 2. ข้อผิดพลาดด้านการใช้ประโยค ได้แก่ 2.1 การใช้ประโยคฟุ่มเฟือย 2.2 การใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
References
จันจิรา จิตตะวิริยะพงษ์. (2546). อิทธิพลภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ก๊อปปี้ แอนด์ พริ้นท์.
โชษิตา มณีใส. (2558). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(43), 1-29.
ธิดา โมสิกรัตน์. (2560). การเขียนบันทึกส่วนตัวและบันทึกความรู้. ใน วสันต์ รัตนโภคา (บ.ก.), เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15. (น. 11-20). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.
ประเมิน เชียงเถียร. (2546). หลักการอ่านและการเขียนคำไทย. พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พรทิพย์ พุกผาสุข. (2555). ปัญหาด้านการใช้คำ. ใน ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (บ.ก.), เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7 (น. 237-240). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
“_______”. (2555). ปัญหาด้านการใช้ประโยค. ใน ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (บ.ก.), เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7 (น. 243-250). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รณยุทธ์ เอื้อไตรรัตน์ และนันทพร ศรจิตติ. (2562). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 15(1), 87-100.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วันชัย แก้วหนูนวล และภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2561). ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย : กรณีศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 1-11.
สนั่น ปัทมะทิน. (2535). ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2548). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.