การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, สวัสดิการ, สังคมสงเคราะห์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ในมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 3 ดังนี้ (1) เสริมสร้างสังคมแห่งการให้และช่วยเหลือกันและกัน (2) เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเอง และการจัดการตนเอง (3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (4) ต่อยอดการพัฒนาบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในบั้นปลาย ได้อย่างมีความสุข จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ดังนั้น เมื่อผู้สูงอายุได้รับการดูแลเป็นอย่างดีด้านสวัสดิการทางกายแล้วด้านจิตก็มีส่วนสำคัญที่ผู้สูงอายุจะต้องได้รับหรือได้การเยียวยาด้านจิตใจโดยอาศัยพุทธธรม คือพัฒนาด้านสติปัญญาให้มองความจริงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตด้วยกฎของไตรลักษณ์ และสร้างคุณภาพชีวิตด้วยหลักอิทธิปาทธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจกับร่างกายที่ดีต่อไป และขัดเกลาจิตใจให้มีความสุขไปพร้อมกันจะเป็นการฟื้นฟูมสมรรถภาพของผู้สูงอายุด้านกายและจิตใจให้มีความสุขไปพร้อมกัน
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). สืบค้น 5 มีนาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). สรุปกิจการประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมอนามัย. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
“________”. (2566). โครงการเฝ้าระวังและพัฒนาสารสนเทศสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2566. สืบค้น 8 มีนาคม 2566, จาก https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=6238
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). แผนกลยุทธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.
คณะทำงานพิจารณานโยบายและมาตราการหลักเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ. (2535). สาระสำคัญของทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2564). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินชีวิตให้ถูก ความสุขยิ่งเพิ่มพูน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสภาบันลือธรรมจำกัด.
สมปอง สุวรรณภูมา. (2564). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(2), 220.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2535). สาระสำคัญของนโยบายและมาตรการสำหรับผู้สูงอายุระยะยาว (พ.ศ. 2535 -2554). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, (2556). หลัก 5 อ. ดูแลผู้สูงวัยสุขภาพดี อายุยืน. สืบค้น 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=278621
อนุสร์ อุดปล้อง. (2556). ปัจจัยที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.