ความนึกเปรียบเทียบการศึกษากับการรักษาทางการแพทย์ : มโนคติและความหลากหลายของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • วิฑูรย์ เมตตาจิตร หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรวรรธน์ ศรียาภัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศราวุธ หล่อดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความนึกเปรียบเทียบ, การศึกษา, มโนคติ, การรักษาทางการแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษามโนคติและรูปภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบ “การศึกษากับการรักษาทางการแพทย์” และ 2. เพื่อศึกษาความหลากหลายของการใช้ความนึกเปรียบเทียบ “การศึกษากับการรักษาทางการแพทย์” ของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัยรัฐบาล คสช. พ.ศ. 2557-2562 เก็บข้อมูลทั้งจากภาษาที่มาจากการสื่อสารด้วยการพูดและเขียน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จากพระราชบัญญัติการศึกษา หัวข้อกระทู้รวมถึงถ้อยคำแสดงความคิดเห็นในแฟนเพจเฟซบุ๊กครูนอกกรอบ และเว็บไซต์พันทิปดอทคอม รวมถึงถ้อยคำจากการถอดเทปคลิปวิดีโอที่มีการสื่อสารถึงเรื่องการศึกษาจากเว็บไซต์ยูทูปดอทคอม รวมจำนวน 171 คลิป โดยใช้แบบบันทึกถ้อยคำแสดงความนึกเปรียบเทียบ “การศึกษากับการรักษาทางการแพทย์” ศึกษาถ้อยคำของบุคคล 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา ได้แก่ ผู้มอบนโยบาย ผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษา ใช้แนวคิดความนึกเปรียบเทียบ และแนวคิดเรื่องความหลากหลายของภาษาในการวิเคราะห์ พบผลการศึกษา ดังนี้

  1. มโนคติ “การศึกษากับการรักษาทางการแพทย์” แสดงผ่านรูปภาษาความนึกเปรียบเทียบจำนวน 149 ถ้อยคำ โดยกล่าวถึง 6 องค์ประกอบของการศึกษาเปรียบเทียบกับการรักษาทางการแพทย์ ได้แก่ 1) “ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา” กับ “บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย” 2) “การแก้ปัญหาระบบการศึกษาและการให้การศึกษา” กับ “วิธีการรักษา” 3) “วิธีการทำงานและเนื้อหาบทเรียน” กับ “ยารักษา”  4) ปัญหาและอุปสรรคของระบบการศึกษา กับ “โรค” 5) “สภาพและความเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาการศึกษา” กับ “อาการและความเร่งด่วนในการรักษา” และ 6) “ผลที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษา” กับ “ผลของการรักษา”

          2.       ความหลากหลายหรือลักษณะการแปรของภาษาไปตามปัจจัยของผู้ใช้ พบว่า การใช้ภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบมีการแปรไปตามสถานภาพของผู้ใช้ภาษาทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มอบนโยบายทางการศึกษา จะใช้ภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบนี้เฉพาะในภาษาพูดเท่านั้น กลุ่มผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ จะมีมโนคติว่าตนคือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษา จะไม่สะท้อนมโนคติยารักษาคือวิธีการทำงานและเนื้อหาบทเรียน และยังสะท้อนว่าการศึกษาอยู่ในสภาพที่ต้องการได้รับการแก้ไขปัญหาในขั้นเร่งด่วน และผลที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาคืออาการรุนแรงของโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ตฯ.

ครูบ้านนอกดอทคอม. (2560). แผนงาน/โครงการของกระทรวงศึกษาธิการที่จะดำเนินการในปี 2560. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.kroobannok.com/80920

ครูมะนาว ศุภวัจน์ พรมตัน. (2559). ครูเปลี่ยน นักเรียนเปลี่ยน ครูมะนาว รร.นครวิทยาคม จ.เชียงราย. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=CL6rlpBlgso.

จรัสศรี ชินวงศ์. (2562) และ Skolpat Sensook. (2558). ครูนอกกรอบดอทคอม. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/wekruthai/photos/a

ชัชศรัณย์ จิตคงคา. (2564). ความนึกเปรียบเทียบตัวละครในนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา : พะเยา.

ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2557). รมว.ศธ.แถลงนโยบายวันแรกเข้ากระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=slR8_

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2527). สุนทรียภาพในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.

ทศพล บุญธรรม. (2547). ภาวะความเครียดจากการทำงานของครูระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร : นครปฐมฯ.

ไทพับลิก้า. (2558). กระทรวงศึกษาธิการแถลงผลงานในรอบ 6 เดือน. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://thaipublica.org

พสิณ ชรัตน์. (ม.ป.ป). เอกสารประกอบการบรรยายของหน่วยบริหารทรัพย์สินและกฎหมาย “คดีทางการแพทย์”. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2551). อุปลักษณ์ที่นักการเมืองใช้: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมฯ. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

“_______”. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วิกิพิเดีย พจนานุกรมเสรี. (2564). ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

สมาชิกเลขที่ 1149444, 701086 สมาชิกชื่อ ม่อนหินซ้อน, ครับครับครับ. (2558). เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาของไทย?. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://pantip.com

หมัดเหล็ก. (2560, 18 มีนาคม). โรงเรียนไอซียู ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.thairath.co.th/news/888115

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมลักษณ์ เมฆาวณิชย์. (2556). ความเครียดของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (กลุ่มอำเภอพนัสนิคม) (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา : ชลบุรี.

-Eleven Thailand. (2558). อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ The Everlasting Teacher – 7- Eleven Thailand, 2558. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.youtube.com/

BANGKOK HOSPITAL. (ม.ป.ป.). ห้อง ICU กับห้อง CCU ในโรงพยาบาล คืออะไร แล้วมีความแตกต่างอย่างไรบ้าง. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bth.co.th

Charteris-Black, Jonathan. (2006). Britain as a container: immigration metaphors in the 2005 election campaign. Discourse & Society, 17(5): 563-581.

Nattatiti K. (2564). ระบบการศึกษาไทยปีศาจที่กัดกินความเป็นคนของครู. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563. จาก https://www.sanook.com/news/8358770/

Wei-lun & Ahrens. (2008). Ideological influence on BUILDING metaphors in Taiwanese Presidential speechs. Discourse & Society, 19(3): 383-40

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

เมตตาจิตร ว., ศรียาภัย ว. ., ยิ่งยงศักดิ์ ว. ., & หล่อดี ศ. . (2022). ความนึกเปรียบเทียบการศึกษากับการรักษาทางการแพทย์ : มโนคติและความหลากหลายของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(2), 281–302. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/259203