การบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารกับประสิทธิผล การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหาร, พรหมวิหาร 4, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักพรมวิหาร 4 ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งจะได้จากตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้กรอบแนวคิดจากการวิจัยเรื่องการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความสัมพันธ์ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอุเบกขา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณธรรมและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2551). การบริหารและนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโตฺ). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์จํากัด.
พิสิฐ พูลสวัสดิ์. (2548). วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อสถานศึกษาครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร : นครปฐม.
รัศม์ณันยา เหล็กเพชร. (2559). การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.
วีณา คำคุ้ม. (2561). พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิด เห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 ในจังหวัดพังงา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2562. นครศรีธรรมราช.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2554). คู่มือบริหารงานวิชาการระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
อโนทัย คำอาจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกับความผูกพันต่อองค์กรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี : กาญจนบุรี.
Kazu, Hilal; Demiralp, Demet. (2016). Faculty Members' Views on the Effectiveness of Teacher Training Programs to Upskill Life-Long Learning Competence. Eurasian Journal of Educational Research, 63(2016), 205 – 224.
Mamat Rahmatullah. (2016). The Relationship between Learning Effectiveness, Teacher Competence and Teachers Performance Madrasah Tsanawiyah at Serang, Banten, Indonesia. Higher Education Studies, 6(1), 169.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.