ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์สมลักษณ์ ติกฺขปญฺโญ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ศรัทธา, โยนิโสมนสิการ, การคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดยางยี่แส ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ศรัทธา 4 จำนวน 4 ชุด 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent

         ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม และระหว่างครูอย่างเป็นเหตุเป็นผล ครูเป็นกัลยาณมิตร นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดได้อย่างเป็นระบบ คิดได้ถูกวิธี คิดตามแนวทางที่เป็นกุศล ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดปัญญาและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำวิธีการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ตามแบบการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสคิดอย่างมีระเบียบ คิดตามแนวทางแห่งปัญญา การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ ได้ศึกษาข้อมูล รับรู้ ทำความเข้าใจปัญหา และตระหนักในปัญหา ร่วมกันวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น แยกแยะประเด็นปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ร่วมกันหาทางเลือก ประเมินทางเลือก และสรุปเป็นองค์ความรู้ของนักเรียน และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่า ครูเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดอย่างอิสระ ปลุกเร้าให้นักเรียนสนใจในการค้นหาสิ่งที่เป็น นำเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน การฝึกคิดตามวิธีการคิดแก้ปัญหา และร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธนัท อู๊ดน้อย. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการเรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัญหาสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 1802-1816.

พระพิทักษ์ อริยปุตฺโต (บุญทอง) และคณะ. (2561). การสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศนฯ. 5(1), 115-121.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรัตถ์พัชร์ ทวีเจริญกิจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา : ชลบุรี.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2533). การสอนโดยสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2579). กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02