ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะของภาวะผู้นำกับจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูของโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะของผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะของผู้นำ กับจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามการรับรู้ของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต1 ในอำเภอเมืองฯ โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน โดยการสุ่มโรงเรียนในชั้นแรก หลังจากนั้นสุ่มชั้นที่สองโดยสุ่มข้าราชการครูอย่างเป็นสัดส่วนตามจำนวนครูของโรงเรียนจากที่สุ่มได้ในชั้นแรก เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสภาวะของภาวะผู้นำ(ตัวแปร X) กับจริยธรรมของผู้บริหาร (ตัวแปร Y) ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า
1.ระดับพฤติกรรมด้านสภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.ระดับพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3.สหสัมพันธ์ระหว่างสภาวะของภาวะผู้นำกับจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครู ของโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง
ทางบวก (rxy = 0.885) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เมื่อพิจารณาในรายละเอียดถึงความสัมพันธ์รายคู่ระหว่างสภาวะของภาวะผู้นำกับจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครู พบว่าระดับความสัมพันธ์รายข้อของสภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กับจริยธรรมของผู้บริหารรายข้อตามการรับรู้ของครูเกือบทุกคู่อยู่ในระดับสูงทางบวก ยกเว้น 3 คู่ที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางทางบวก คือ1) การมีหลักในการทำงาน กับการครองคน ( rxy = .696) 2) การมีความยืนหยัดในการแก้ไขปัญหา กับ การครองตน (rxy = .671) และ 3) การมีความยืนหยัดในการแก้ไขปัญหา กับ การครองคน(rxy = .683)
References
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา . มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร/
กรุงเทพฯ.
กมล ภู่ประเสริฐ.(2544) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงาน.(2548). คู่มือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์
โปรเกฟซีฟ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 2545.
ดารุณี พิพัฒนผล และคณะ.2552. “ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี” วาสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัม 3(3), 21-23.
พระราชวรมุนี. (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สมใจ เขียวสด. (2534). คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ผลิตผู้บริหารการศึกษา และผู้บังคับบัญชาผู้บริหารสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูธนบุรี.
สุมาพร ทำทอง.(2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนในกลุ่มวิภาวดี สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สันติ บุญภิรมย์.(2552). หลักการบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.