FACTORS RELATED TO SELF-CONTROL OF STUDENTS OF JUNLAMANEE SISAKET VOCATIONAL EDUCATION COLLEGE

ปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักศึกษา

Authors

  • พระวิหาญชัย อนุตฺตโร (เกษอินทร์) คณะมนุษยศาสตร๋ มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

self-control behaviors, Vocational Certificate.

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการปรับพฤติกรรมตามหลักจิตวิทยาและ    หลักพุทธจิตวิทยาของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ  และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยา ปัจจัยจิตลักษณะ และปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ จำนวน ๒๓๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามด้วย การทดสอบค่า F (F-Test) แบบ One Way ANOVA และทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านปัจจัยการควบคุมตนเอง ปัจจัยด้านสิ่งกระตุ้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เพราะนักศึกษาได้รับการกระตุ้นจากสถานศึกษาในหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาชีวิตอย่างมั่นคง 2) ในปัจจัยด้านจิตลักษณะพบว่าด้านลักษณะมุ่งอนาคตอยู่ในระดับที่สูงมากเพราะนักศึกษาย่อมคาดหวังกับอนาคตของตนที่หวังความสำเร็จในอนาคต เมื่อได้มาศึกษาที่สถานศึกษาแห่งนี้แล้วต้องมุมานะเล่าเรียนศึกษาให้ดีที่สุดเมื่อจบออกมาแล้วสามารถทำงานตามที่ตนเองคาดหวังได้ 3) ในด้านปัจจัยจิตสังคมพบว่า ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเมื่อพิจารณาในภาพรวมเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากนักศึกษาย่อมมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กล่อมเกลา ฝึกฝน หรือถ่ายทอดให้เป็นอย่างดีวิถีการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นอุปนิสัยของนักค้นคว้า ใฝ่เรียนรู้ 4) ในด้านปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาพบว่าด้านปัญญาภาวนามีค่าเฉลี่ยสูงสุด นักศึกษามีระดับการรับรู้สูงมากอาจเป็นเพราะว่าปัญญาภาวนาเป็นเสมือนกุญแจที่จะไขให้เห็นความกระจ่างของปัญหาต่างๆของชีวิตและสิ่งรอบข้าง   เมื่อนักศึกษาอบรมปัญญาภาวนาไว้ดีแล้ว ด้านอื่นๆก็จะดีตามไปด้วย

 

คำสำคัญ: พฤติกรรมการควบคุมตนเอง  ประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยอาชีวศึกษา

References

1. ภาษาไทย
(1) หนังสือ
พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต. ธรรมะกับการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธ ธรรม, 2543.
พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสิโล เกษนคร. พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริธรรมออฟเซ็ท, 2554.
ประสาท อิศรปรีดา. สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา, 2548.
วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ธนเพรส แอนด์กราฟฟิค, 2544.
วิพรรธ์ เริงพิทยา. ข่าวสดรายวัน. ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2552. กรุงเทพมหานคร : ข่าวสด, 2552.

(2) วิทยานิพนธ์
กนกทิพย์ ไชยศิริ, การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในการเรียนการศึกษาในปัจจุบัน, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๑).
กฤษฎา บุญวัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเตรียมทหาร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2541.
นวลน้อย วิจิตรกุล. การพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีโดยใช้กิจกรรมการประมวลพฤติกรรมตนเองในด้านบวกในการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.
ปัญจา ชูช่วย. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2551.
โพยม เพียรล้ำเลิศ. รายงานการวิจัย. เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552.
เสรี วงษ์มณฑา. คณะอนุกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ, ๒๕๔๔.

2. ภาษาอังกฤษ
Cronbach. L.J. Essentials of Psychological Test 5th ed.. New York: Harper Collins 1971.
Serafin. L. E. The Role of non new work and work related factors in threatening or supporting self esteem in organizations. Pennsylvania: University of Pittsburgh, 1994.

Downloads

Published

2019-08-06

How to Cite

(เกษอินทร์) พ. อ. (2019). FACTORS RELATED TO SELF-CONTROL OF STUDENTS OF JUNLAMANEE SISAKET VOCATIONAL EDUCATION COLLEGE: ปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักศึกษา. Journal of MCU Humanities Review, 5(1), 271–282. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/177445