ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม 24 น. จังหวัดปราจีนบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์,พฤติกรรม,การเตรียมตัวก่อนตาย,ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับของพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม ๒๔ น. จังหวัดปราจีนบุรี ๒) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม ๒๔ น. ปราจีนบุรี ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันไป ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวกับการเตรียมก่อนตายกับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม ๒๔ น. ปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน ๑๑๐ คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นต่อต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวก่อนตาย และพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T- test, F-test ทดสอบรายคูด้วยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕.
ผลการวิจัย พบว่า
ปัจจัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตายโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม ๒๔ น. จังหวัดปราจีนบุรีโดยรวม ทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง (r = ๐.๓๒) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าระดับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคม, ความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย และการรับรู้ภาวะสุขภาพ เป็นแนวโน้มที่ดีที่ผู้สูงอายุที่ได้มาร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมมีพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายไปในทางบวก
References
ชูศรี บูรณ์ทอง. ๒๕๔๙. การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความตายในพระอภิธรรมปิฎก. สารนิพนธ์
ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
โซเกียล รินโปเซ. ๒๕๔๗. ประตูสู่สภาวะใหม่. แปลโดย พระไพศาล วิสาโล. พิมพ์ครั้งที่๕.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
นิตยา ปัญจมีดิถี. ๒๕๔๒. การพยาบาลผู้ป่วยสิ้นหวัง. วารสารวิจัยทางการพยาบาล. ฉบับที่๔
มกราคม ๒๕๔๒.
พระมหาสุพรต ธมฺมาราโม (สมศิริ). ๒๕๕๔. ทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท:
กรณีศึกษานิสิตห้องเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรศะนี ชัยพันธ์. ๒๕๕๑. การรับรู้ชีวิตและความตายของบุคลากรสาธารณประโยชน์ กรณีศึกษา
บุคคลากรมูลนิธิปอเต็กตึ้ง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิต
และความตาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. ๒๕๕๗. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลอง
ตำหรุอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยา-
ลัยบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สารภี รังษีโกศัย. ๒๕๕๖. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย
และภาวะใกล้ตายผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์พยาบาล-
ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุทยา นาคเจริญ. ๒๕๔๔. การเตรียมตัวสำหรับความตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Corr. A., Nabe, C. M., & Corr, D. M. (2000). Death and dying, life and living (2nd ed.).
San Francisco: Pacific Grove Brooks/ Cole.
Douglas, R., & Brown, H. N. (2002). Patient’ attitudes toward advance directive.
Journal of Nursing Scholarship, 34(1), 61-65