คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน ข้าราชการกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานครนั้น อาจเกิดจากการทำให้ข้าราชการมีความสุขทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ การทำงานที่ดีของข้าราชการจะส่งผลต่อความสำเร็จของกรุงเทพมหานคร สำหรับคุณภาพชีวิตในการทำงานได้มีการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลาย โดยผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการ อีกทั้งคุณภาพชีวิตของข้าราชการยังส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรที่ตนเองสังกัดเช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อเสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการกรุงเทพมหานครรวมไปถึงวรรณกรรมที่แสดงถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร แนวคิดคุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบด้วย ๑) การได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ๒) โอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง ๓) การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ๔) ธรรมนูญในองค์การ หรือ สิทธิของพนักงาน ๕) ความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ๖) สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ๗) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ๘) ความเป็นประโยชน์ต่อสังคม จากการศึกษาแนวคิดได้ข้อสรุปว่าคุณภาพชีวิตในการทำงาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและส่งผลไปยังคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆที่จะทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
References
วิทยานิพนธ์
สุทธิลักษณ์ สุนทโรดม. “มาตรการทางกฎหมายต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน”. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒.
สุมิดา เหมือนครุฑ. “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการ
ทำงานและความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๕๐.
เอกสารอิเล็คทรอนิค
คงพล มนวรินทรกุล, Literature Review แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Healthy Organization และ Quality of Work Life, [ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.gotoknow.org/ posts/613377 ( ๒๐ มกราคม ๒๕๖๒)
Reference
David, Louis E. 1977. Enchancing Quality of Working Life : Development in The United States. International Labour Review. 116 (July-August): 53.
Davis, K. 1981. Human Behavior at Work : Organization Behavior. New York : McGraw-
Hill.
Hackman, J.R. and Sutte, L.J. 1977. Improving Life at Work. : Behavioral Science
Approaches to Organizational Change. Santa Monica, California : Goodyear
Publishing.
Merton, Herbert C. 1977. A Look at Factor Affecting The Quality of Workig Life.
Monthly labour Review. 100 (October) 64-65.
Michael, L., Sue, M. and Dave, U. 2005. The Future of Human Resource Management : 64 Thought Leaders Explore the Critical HR Issues of Today and tomorrow. New jersey : John Wiley.
Newman, S. (1975). Objective and subjective determinants of prospective residential
Mobility Social. Indicator Research, 2(2), 53-63
Rogerson, R. J., Findlay, A. M., Coombes, M. G. and Morris, A. S. (1989). Indicators of
quality of life: some methodological issues. Environment Planning, 21(2), 1655 – 1662.
Walton, Richard E. Improving the Quality of Life. Harvard Business Review. (May-
June, 1974): 12-16.
Walton, Richard E, Critiria for Quality of Work Life. The Quality of Working Life.
New York : Free Press,1975, p. 12-16.