ผลของการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาต่อการลดระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในแผนกผู้ป่วยนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต : กรณีศึกษาห้องฉีดยาทำแผล ห้องตรวจแพทย์ จุดซักประวัติโรคติดต่อเรื้อรัง จุดคัดกรอง และจุดซักประวัติทั่วไป โรงพยาบาลแม่สาย
คำสำคัญ:
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , แผนกผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาต่อการลดระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สาย จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ ห้องฉีดยาทำแผล ห้องตรวจแพทย์ จุดซักประวัติโรคติดต่อเรื้อรัง จุดคัดกรอง และ จุดซักประวัติทั่วไป โดยวัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในอาคาร แต่ละพื้นที่วัดห่างกันทุก 5 นาที ระยะเวลาห่างจากจุดเดียวกัน 30 นาที จำนวน 11 รอบซ้ำ ด้วยเครื่องมือชนิด non-dispersive infrared analyzer ที่อ่านค่าได้เลยในทันที จำนวน 1 เครื่อง ค่าที่ได้นำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers) ที่กำหนดให้ภายในอาคารที่มีผู้ใช้งานควรมีระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 1,000 ppm ผลการศึกษา พบว่า การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา มีความแตกต่างของระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุก ๆ จุดที่วัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 (ค่าความเชื่อมั่น = 95 %) และเมื่อทำการเปรียบเทียบผลการประเมินข้อมูลทางสุขภาพ ประสบการณ์ที่เคยเกิดปัญหาอาการ ต่าง ๆ ก่อน-หลัง การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในพื้นที่ ที่ทำการทดลองของเจ้าหน้าที่ จำนวน 33 ราย พบว่า อาการระคายเคืองตา ปวดศีรษะ และมึนงง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญคือ .024, .003 และ .046 ที่ระดับสถิติ .05 ตามลำดับ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือการศึกษาและประเมินคุณภาพอากาศ ภายในอาคารทั่วไปและโรงพยาบาล. สืบค้นที่ http://203.155.220.174/pdf/assess% 20air% 20quality.pdf เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คูมือการออกแบบอาคารสถาน บริการสุขภาพและสภาพแวดลอม ฉบับทั่วไป. สืบค้นที่ http://www.hss.moph.go.th/fileupload
_doc_slider/2016-11-16--163.pdf เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการ สุขภาพและสภาพแวดล้อมแผนกผูปวยนอก สืบค้นที่ http://www.hss.moph.go.th/fileupload
_doc_slider/2016-11-16--164.pdf เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
กัญญา ม่วงแก้ว. (2559). คุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงาน. สืบค้นที่ http://lib3.dss.go.th/
fulltext/dss_knowledge/phy_5_2559_indoor_air_quality.pdf เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ. (2551) . คุณภาพอากาศภายในอาคาร เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การประเมิน หน่วยที่ 15 สืบค้นที่ https://www.safetystou.com/UserFiles/File/ 54113%20 unit15.doc เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
นภดนัย อาชวาคม. (2554). คุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) เอกสารการสอน สืบค้นที่
https://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/phy_5_2559_indoor_air_quality.pdf
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
ณหทัย เลิศการค้าสุข และคณะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยสารสาธารณะ กับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจำหน่ายตั๋วโดยสาร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสาร สาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. 87-97. สืบค้นจาก https://tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/8181. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560.
ณัชจารีย์กร สวัสดิ์มงคลกุล และ ชุมพร มูรพันธุ์. (2558). การรับรู้คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558. 1583-1594. สืบค้นจาก
dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1256/1/natjareekorn_sawa.pdf. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
ปริยะดา โชควิญญู, ชไมพร เป็นสุข, วันทนา ปวีณกิตติพร. (2557). การศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคารของ โรงพยาบาลและโรงแรมในประเทศไทย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 หน้า 51-66.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม. (2561). กฎหมายความ ปลอดภัยในการทำงาน (สารเคมี) สืบค้นที่ http://203.157.80.2/replyImages/201312181
33746181.pdf เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561
ปาริณี ศรีสุวรรณ์. (2554). คุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีการรั่วซึมของอากาศสูง เมื่อมีการใช้ระบบเติมอากาศ ภายนอก สืบค้นที่ http://digi.library.tu.ac.th/thesis/ra/0288/01title-illustrations.pdf
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561
สร้อยสุดา เกสรทอง, (2549). SBS โรคจากการทำงานในตึก. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพ : ใกล้หมอ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. (2561). วัสดุอ้างอิงเพื่อการตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ. สืบค้นที่ http://www.nimt.or.th/etrm/upload/basicdescription/file-8.pdf
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายใน อาคาร สำหรับเจ้าหน้าที่. สืบค้นที่ http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt
/env/ewt_dl_link.php?nid=824 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561.
วุฒิกร ไกรทะสอน. (2561). แนวทางการศึกษาคุณภาพอากาศภายใน (IAQ) สืบค้นที่ http://dspace.spu
.ac.th/bitstream/123456789/4367/3/Chapter1-5-วุฒิไกร-กันทะสอน-FM2551.pdf เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
อริสา กาญจนากระจ่าง และภารดี ช่วยบำรุง. (2560). การตรวจวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 25 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2560. 960-974. สืบค้นจาก http://tujournals.tu.ac.th/tstj/detailart.
aspx?ArticleID=5935. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2561.
โรงพยาบาลแม่สาย. งานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์. (2560). รายงานประจำปี 2560. เชียงราย : โรงพยาบาล.
โรงพยาบาลแม่สาย. งานอาชีวะอนามัย. (2560). รายงานประจำปี 2560. เชียงราย : โรงพยาบาล
ASHRAE. (2018). Indoor Air Quality Guide : Best Practices for Design, Construction and Commissioning. Accessed October 4, 2018.https://iaq.ashrae.org/Download.aspx?type= registrants&pubid=395&source=77fb1246-5342-4822-a4cc-fb9816c46b72 .
Institute of Environmental Epidemiology Ministry of the Environment. (1996). Guidelines for good indoor air quality in office premises. Accessed October 4, 2018. https://www.bca.gov.sg/
GreenMark/others/NEA_Office_IAQ_Guidelines.pdf.
Lee-Kuo Lina, Yan-Sin Cai and Yao-Chien Tsai . (2017). Analysis of hospital interior air quality audits. Accessed October 4, 2018. https://www.matec-conferences.org/articles/
matecconf/pdf/2017/33/matecconf_imeti2017_01036.pdf.
M. Ramaswamy, Farooq Al-Jahwari, Saif M. Masoud Al-Rajhi. (2010). IAQ in Hospitals – Better Health through Indoor Air Quality Awareness. Accessed October 4, 2018. https://oaktrust.library.tamu.edu/bitstream/handle/1969.1/94139/ESL-IC-10-10- 88.pdf?sequence=1.
Qi Zhoua, Zhengfei Lyub, Hua Qiana, Jinwei Songa, Viola C. Möbsc. (2015). Field-Measurement of CO2 Level in General Hospital Wards in Nanjing. Accessed October 4, 2018. https://www.researchgate.net/profile/Hua_Qian/publication/283944484_Field- Measurement_of_CO2_Level_in_General_Hospital_Wards_in_Nanjing/links/56f11d6d08ae cad0f31f2349/Field-Measurement-of-CO2-Level-in-General-Hospital-Wards-in-Nanjing.pdf.
WHO. (2009). Guidelines for indoor air quality – dampness and mould.. Accessed October 4, 2018. http://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0018/43326/E92645sum.pdf.