การนำหลักพุทธจิตวิทยามาใช้ในการสอนงาน (Coaching)

ผู้แต่ง

  • สุทธิชัย ศรีรัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Coaching, Buddhist Psychology

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้กล่าวถึง การพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยวิธีการสอนงาน หรือที่เรียกกันว่า “Coaching” ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้สอนงาน มีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างและพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ ทักษะและความสามารถเฉพาะตัว ด้วยเทคนิคและวิธีการที่ได้วางแผนไว้ โดยการสอนงานอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยก็ได้ จนกระทั่งบุคคลากรที่ฝึกปฏิบัติตามที่สอนสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งในระหว่างกระบวนการสอนงาน ผู้สอนงาน (Coach) กับผู้ถูกสอนงาน (Coachee) จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (Interactive Process) ซึ่งผู้สอนงานต้องมีจิตวิทยาในการสอนในระดับที่ดีมาก เพื่อทำให้ผู้ถูกสอนงานเกิดการรับรู้ เปิดใจยอมรับ และปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกสอนอย่างเต็มใจ การสร้างการรับรู้และแรงจูงใจให้เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนงาน ควรทำให้เกิดขึ้นกับผู้ถูกสอนงานเพื่อผลสำเร็จในการสอนงาน โดยเฉพาะในบทความนี้ เน้นการนำพุทธวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการสอนงานในปัจจุบัน จะช่วยให้ผู้สอนงานมีเทคนิคในการวิเคราะห์การสอนให้เหมาะสมกับผู้ถูกสอนงานตามหลักพุทธจิตวิทยา ส่งผลให้การสอนงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-06