วิถีครูบากับกระบวนการพัฒนาสังคม

ผู้แต่ง

  • พระนฤพันธ์ ญาณิสฺสโร ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิถีครูบา, กระบวนการ, การพัฒนาสังคม

บทคัดย่อ

วิถีครูบาเป็นความศรัทธาและความสามัคคี อันนำมาสู่กระบวนการในการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยไม่มีผู้ใดที่รับเป็นเจ้าของงานนั้นแต่เพียงผู้เดียว แต่ทุกคนถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน และเมื่อกิจการงานต่างๆ สำเร็จเสร็จสิ้น ทุกคนก็คือเจ้าของร่วมกันทั้งหมด ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้นำเอาความเชื่อความศรัทธาของคนลำพูนมาเป็นฐานและนำความต้องการของประชาชนชาวลำพูน เพื่อเสนอรูปแบบของวิธีร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมแรง ร่วมทุน ฯ ตามวิถีของ    ครูบา ซึ่งกระบวนการพัฒนาสังคมตามหลักวิถีครูบา เป็นกระบวนการพัฒนาสังคมที่มีจุดเริ่มต้นจากกระบวนการสร้างการเรียนรู้หลักวิถีครูบา ด้วยหลักธรรม ภูมิปัญญา นำสู่วิถีปฏิบัติ  ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ นี้นำไปสู่กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้เกิดขึ้น

References

พัทยา สายหู. 2546. กลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2546. ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สาน. 2522. “บทวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเมือง : การพัฒนาสังคม”. วารสาร สังคมศาสตร์. (1 มิถุนายน 2522) : 1.
อาแว มะแส. 2558. “การส่งเสริมการดำรงชีพอย่างยั่งยืนในชนบทด้วยการพัฒนาบนฐานชุมชน”. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2558 กลุ่มย่อย “การพัฒนาสังคมบนฐานของชุมชน” (Community Based on Social Development). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม :
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-06