วาทศิลป์ในปาฐกถาธรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
คำสำคัญ:
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), ปาฐกถาธรรม, วาทศิลป์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอโครงสร้างทางวาทกรรม กลวิธีการสร้างวาทศิลป์ และกลวิธีทางวัจนกรรมในปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือธรรมะ จำนวน 9 เล่ม
ผลการศึกษากลวิธีการนำเสนอโครงสร้างทางวาทกรรมพบว่า ปาฐกถาธรรมประเภทโอวาทและสัมโมทนียกถามี 3 ส่วน ได้แก่ การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง ส่วนปาฐกถาธรรมประเภทคำบรรยายและพระธรรมเทศนามี 4 ส่วน ได้แก่ ชื่อเรื่อง การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง กลวิธีการสร้างวาทศิลป์พบว่า ปาฐกถาธรรมประเภทโอวาทและสัมโมทนียกถามีลักษณะการใช้ถ้อยคำแบบเป็นกันเอง และสร้างสำนวนสุภาษิตใหม่ ส่วนปาฐกถาธรรมประเภทคำบรรยายและพระธรรมเทศนามีลักษณะการใช้ถ้อยคำแบบเป็นทางการ และใช้พุทธสุภาษิต กลวิธีทางวัจนกรรมพบว่ามี 7 รูปแบบ คือ วัจนกรรมขอร้อง วัจนกรรมปรารถนา วัจน กรรมอารมณ์ขัน วัจนกรรมคำสั่ง วัจนกรรมเตือน วัจนกรรมแนะนำ และวัจนกรรมปฏิปุจฉา
References
ยุพา ส่งศิริ. 2535. วาทศิลป์ในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
รัชดา ลาภใหญ่. 2557. วาทกรรมคำสอนในปาฐกถาธรรมของพระธรรมโกศา จารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วนิดา บำรุงไทย. 2545. สารคดี: กลวิธีการเขียนและแนววิจารณ์. กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาสน์.
สวนิต ยมาภัยและถิรนันท์ อนวัชศีริวงศ์. 2530. หลักการพูดขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมรรัตน์ พันธ์เจริญ. 2533. วาทศิลป์ของยาขอบที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องผู้ ชนะสิบทิศ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. 2552. วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.