ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • สัญญา คำอิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยทองสุข
  • ธาราทิพย์ มูลศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, เทศบาลตำบล, เทศบาลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลองค์การ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมือง ในจังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลและเทศบาลเมือง จังหวัดลพบุรีจำนวน 330 คนได้จากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมือง ในจังหวัดลพบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ส่งต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี สูงที่สุดมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์ เท่ากับ .269 และปัจจัยภาวะผู้นำส่งผลต่อ ประสิทธิผลของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมือง ในจังหวัดลพบุรี ต่ำที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์ เท่ากับ .092  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรีทั้งสิ้น สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบลและเทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรีได้ร้อยละ 76.70 มีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ .232

References

กระทรวงมหาดไทย. (2566). การจัดกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7261

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10(พ.ศ. 2550–2554) หน้า

_______. (2554)[ออนไลน์]. (20 มี.ค. 2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10(พ.ศ. 2550–2554) หน้า 135 เข้าถึงได้จากhttp://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p10/plan10

ชูวงศ์ ฉายะบุตร,(2539)การปกครองท้องถิ่นไทย กรุงเทพฯ พิฆเณศพริ้นติ้งเซนต์เตอร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539).การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. (2540) .การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การไม่แสวงหาผลกำไร กรณีศึกษา : มูลนิธิแสงธรรมส่องหล้า กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chung, Kae H. (1990). Theory - Driven EvaluationsCalifornia : Sage Publication.

Kaplan, Robert S. and Norton, David P., (1996).The Balanced Scorecard :Transtlating Strategy into Action. Boston :HarvardBusiness School.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite