ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อการจัดการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, ผลลัพธ์การเรียนรู้, ผู้มีส่วนได้เสียบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยนครราชสสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้เสียต่อการจัดการหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ความถี่ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้มีส่วนได้เสีย มีความคิดเห็นว่า งานด้านโลจิสติกส์ที่ซับซ้อน บัณฑิตทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง คิดอย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการวางแผนงานที่ดี เข้าใจการทำงานของห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าสุดท้ายให้ลูกค้า การจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง โลจิสติกส์ดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงระเบียบศุลกากรและการส่งออก เข้าใจเกี่ยวกับการเงิน คณิตศาสตร์ มีการจัดการทางด้านการเงินได้เป็นอย่างดี สามารถจัดการโลจิสติกส์ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ขณะเดียวกัน สามารถการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า รู้ความต้องการของลูกค้า มีทักษะในการจัดการธุรกิจ และความเป็นผู้ประกอบการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตนเองและตลาดแรงงาน มีความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากนี้บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและหาวิธีการแก้ปัญหาในกระบวนการโลจิสติกส์ คิดวิธีการใหม่ ๆ ในการปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ วิเคราะห์สถานการณ์และพิจารณาปัญหาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ปรับตัวและทำงานได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นผู้นำ ใฝ่รู้ กล้าแสดงออก เคารพและให้เกียรติผู้อื่น สร้างสัมพันธ์ภาพในการทำงาน ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการเจรจาต่อรอง ทักษะการจัดการเวลา มีศักยภาพในการก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ปัจจุบันและอนาคต พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานและติดต่อประสานงานกับทีมงานหรือคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต ยึดมั่น ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดหลักนิติธรรม มีความโปร่งใส
References
เดวิด ดับเบิลยู, จอร์นสัน และโรเจอร์ ที.(2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21, แปลจาก 21st Century Skills Rethinking How Students Learn, แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ (กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2554), 304
ฐิตินันท์ ดาวศร และคณะ.(2565).แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,11(1),59-73
ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2551).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น
ประสาท เนืองเฉลิม.(2554).วิจัยการเรียนการสอน. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช.(2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์,
ศิวะลักษณ์ มหาชัย และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช.(2565).การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา.วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2),168-185
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ, (2560).ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,10(2),2845-2854
สํานักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.(2558).แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุไม บิลไบ. (2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร..
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์