การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

ผู้แต่ง

  • อรณิชชา ทศตา ผศ.ดร., คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • พิชชานาถ เงินดีเจริญ อาจารย์ประจำหมวดวิชาศึกษาทั่วไป, วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศิริกาญจนา พิลาบุตร ผศ., คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กชพร ใจอดทน อาจารย์ประจำหลักสูตร, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศลิษา เจริญสุข อาจารย์ประจำหลักสูตร, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สมรัชนี ศรีฟ้า อาจารย์ประจำหลักสูตร, คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แชทบอท, การสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล, การพัฒนาทักษะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัลก่อนและหลังการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนมีทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ อยู่ในระดับมาก
  2. ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัลก่อนและหลังการพัฒนา ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.53, SD. = 0.63)

References

ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ทิพย์วรรณ ฟูเฟื่อง. (2564). การพัฒนาแชทบอทให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.In The National Conference in Science and Technology. (Vol. 1, No. 1, pp. 29-29).

ศิรัฐ อิ่มแช่ม (2562) ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), หน้า 45-57

ภัทรสุดา ยะบุญวัน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Chiu, T. K., Moorhouse, B. L., Chai, C. S., & Ismailov, M. (2023). Teacher support and student motivation to learn with Artificial Intelligence (AI) based chatbot. Interactive Learning Environments, 1-17.

Deng, and Yu, (2023). A meta-analysis and systematic review of the effect of chatbot technology use in sustainable education. Sustainability,15(4), 2940.

Hill, J. & Hannifin, M. (2001). Teaching and learning in digital environments: The resurgence of resource-based learning. Educational Technology Research and Development, 49(3), 37-52.

Phoonsawat, G., Wanpeng, R., Homsai, S., & Pongsophon, P. (2022). ปัญญาประดิษฐ์กับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. Journal of Industrial Education, 21(1), C1-C8.

Siripipattanakul, S., Chaivisit, S., & Sriboonruang, P. (2024). ChatGPT เทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะเพื่อการเรียนรู้แห่งอนาคต. Journal of Education Studies, 52(2), EDUCU5202012-16.

Usmani, U. A., Happonen, A., & Watada, J. (2024). The Digital Age: Exploring the Intersection of AI/CI and Human Cognition and Social Interactions. Procedia Computer Science, 239, 1044-1052.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite