ความเป็นไปได้ในการเปิดรับนักศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
คำสำคัญ:
ความเป็นไปได้, นักศึกษา, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจัดทำข้อสรุปผลการวิพากษ์หลักสูตร โดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ในการจัดทำร่างหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภายใต้ขั้นการพัฒนาหลักสูตร และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการ อาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร และนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่มีต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากร คือ บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการ อาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร และนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้คือ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า
1.ข้อสรุปผลการวิพากษ์หลักสูตร หมวดวิชาหลัก 18 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่นับหน่วยกติ) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) 36 หน่วยกิต
2. ความคิดเห็นต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่า ส่วนใหญ่รับข่าวสารจากช่องทาง FaceBook ร้อยละ 40 และ ข่าวสารจากมหาวิทยาลัย เช่น อาจารย์ กิจกรรมที่มหาวิทยลัยจัด ร้อยละ 40 และจากช่องทางอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20 รู้จักหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 100สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40
References
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร.(2565). ข้อมูลทั่วไปคณะรัฐประศาสนศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.siu.ac.th/list/1/69
พงศทัต ฉุยอุดม. (2554). สกอ.เตรียมพร้อมอุดมศึกษารับเสรีการค้า. สืบค้นจาก www.sermmit-school.ac.th/newseducation/2935.html
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิพากษ์: พื้นฐานการศึกษาประเด็น วิกฤติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
ยุพาพร รูปงาม. (2565). การรส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมพร หลิมเจริญ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา พ.ศ.2548. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
อนุชัย ตั้งศุภพรชัย. (2546). การประเมินผลหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
King, I. (1996).King’s Theory of Goal Attainment. Nursing Science Quarterly 5: 19-26
Krejcie, Robert V. and Morgan, D.W. (1970, Autumn). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Marsh, C. & Stafford, K. (1984). Curriculum: Australian Practices and Issues. Sydney: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์