ประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยลัยชินวัตร
  • วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารการศึกษา มหาวิทยลัยชินวัตร
  • ธีร์ธวัช นุกูลกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการ มหาวิทยลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะ และ 2) เปรียบเทียบการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ และด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตาม อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2558). คู่มือมิติใหม่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

จันทร์จีรา อินต๊ะนนท์. (2561). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).

ธนกฤต โพธิ์เงินและคณะ.(2565). ความต้องการรับบริการด้านสาธารณะสุขของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2565. หน้า 31-49.

ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2563). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

ปิยะนุช ตันเจริญ. (2563). คุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านงานสวัสดิการของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี.(การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

พิชญ์สินี จันทร์จวนสุก. (2560). ประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพตรี).

ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. (งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สมศักดิ์ แสงเจริญรัตน์. (2559, มกราคม - มิถุนายน). คุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 1(1), 68-79.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L. (1990). Delivering quality service :

Balancing customer perceptions and expectations. New York: Free Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). NewYork: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

คุ้มทรัพย์ ร., พุ่มพูลสวัสดิ์ ว., & นุกูลกิจ ธ. . (2024). ประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 242–253. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/279431