แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ บุษทิพย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • เกศนี จึงวัฒนตระกูล สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • เพลินพิศ โพธิ์วัน สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ปรับปรุงหลักสูตร, สาขาวิชาการบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (2) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. 2562 ประชากรที่ศึกษาได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบปรับปรุงรายวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี 2) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบมีโครงสร้าง (Indepth Interview) เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) แบบปรับปรุงรายวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี วิเคราะห์หาความถี่และร้อยละของการปรับปรุงรายวิชา 2) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้โปรแกรม NVivo วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แล้วนำเสนอเป็นความเรียงในแต่ละประเด็นตามที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี แบ่งเป็นบริบทสภาพแวดล้อมของหลักสูตร ประกอบไปด้วย 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) โครงสร้างหลักสูตร 3) แผนการดำเนินงานของหลักสูตร, ปัจจัยนำเข้า แบ่งเป็น 1) ด้านการจัดทำหลักสูตร 2) ด้านสื่อ/เอกสาร อุปกรณ์และสถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอน 3) ด้านอาจารย์ผู้สอน 4) ด้านผู้เรียน, กระบวนการ แบ่งเป็น 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวัดและประเมินผล, ผลผลิต ได้แก่ 1) ร้อยละของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาในหลักสูตร จำแนกเป็น 2 มิติ คือ มิตินักศึกษาประเมินตนเองและมิติของผู้ใช้บัณฑิต

         2. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มีดังต่อไปนี้ 1) เปลี่ยนแปลงชื่อหลักสูตรเป็นบัญชีบัณฑิต 2) ปรับปรุงสถานภาพของรายวิชา เป็นรายวิชาปรับปรุง 17 รายวิชา รายวิชาใหม่ 10 รายวิชา และได้มีการพัฒนารายวิชาตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยจำนวน 4 รายวิชา 3) นำแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงด้านคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีสำหรับบัณฑิต ทั้งด้านวิชาชีพและคุณลักษณะทั่วไปมาปรับใช้ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานหรือผู้ใช้บัณฑิตเป็นสำคัญ

References

กรมวิชาการ. (2558). ดุจดวงแก้วแจ่มจรัสวัฒนธรรม (เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ). กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, นธกฤต วันต๊ะเมล์, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, วัลลภา จันทรดี และ ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์. (2555). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ พุทธศักราช 2552 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : อลีนเพรส.

ฐิติมา จุลจินดา และพัชรินทร์ บุญนุ่น. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่สถานประกอบการในจังหวัดสงขลาต้องการ. (รายงานการวิจัย), สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล และ จีราภา สตะเวทิน. (2561). รายงานการวิจัยปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร = Factors affecting decision to study accounting in Faculty of Management Science, Silpakorn University. เพชรบุรี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์, เดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). การพัฒนาการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศไทย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว,9(2), 87-97.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร นครปฐม.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร

ศิริพร โสมคำภา, อนันธิตรา ดอนบันเทา และอนุธิดา เพชรพิมูล.(2559). การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (262 - 272).

ศิริลักษณ์ ศุทธชัย และคณะ. (2561). คุณลักษณะของมหาบัณฑิตปัจจุบันและที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561 (311-327). ขอนแก่น.

สงัด อุทรานนท. (2557). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร : มิตรสยาม. สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2564).มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/Bachelor%20of%20Accountancy-2562_m1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุดารัตน์ อมรชาติ. (2564). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของโรงเรียนบ้านหินดานอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบซิป เปี้ยสท์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน . มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อนุ ธัชยะพงษ์ และคณะ. (2562). คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (หน้า 246-255).

Beauchamp. G.A. (1975). Curriculum Theory. 3 rd ed. Wilmette Illinoid :

The Kagg Press. Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw – Hill.

Falloon, G.. (2013). Young students using iPads: App design and content influences on their learning pathways. Computers & Education,68,505-521. 10.1016/j.compedu.2013.06.006.

Ornstein, A. & Hunkins, F. (2004). Curriculum: Foundations, Principles, and Issues. Boston, MA : Pearson/Allyn and bacon.

Phasunon, Prasopchai and Homsud, Noppanon and Chantuk, Thirawat.(2015). การพัฒนาหลักสูตรบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Development of Accounting Curriculum, Faculty of Management Science, Silpakorn University). Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 4(3),2015, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3259726

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation [Online]. Available : https://www.scribd.com/ducument/58435354/The-Cipp-Model-for-Evaluation-by-Daniel-l-Stufflebeam.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York : Hardcourt, Brace and world.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

บุษทิพย์ อ. . ., จึงวัฒนตระกูล เ., & โพธิ์วัน เ. . . (2024). แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 67–81. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/277101