ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , ทักษะทางวิชาชีพ , ประสิทธิภาพการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารธุกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี 2) ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี 3) ประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้างานบัญชีของธุรกิจ SMEs จำนวน 397 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริหารของธุรกิจ SMEs มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักบัญชีธุรกิจ MSEs ภาพรวมมีทักษะทางวิชาชีพในระดับมาก 3) นักบัญชีธุรกิจ SMEs ภาพรวมการทำงานมีประสิทธิภาพในระดับมาก 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นเร้าให้เกิดแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 93.20 (R2=0.932) และทักษะทางวิชาชีพในด้านทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งาน ด้านทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 69.80 (R2=0.698) ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
References
กฤตภาคิน มิ่งโสภา และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก https://rsujournals.rsu.ac.th
กัณฑาภรณ์ คําชมพู และ ละมัย ร่มเย็น. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 3(3), 158 – 173.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ณัฐญา อุดมเสรี และ เบญจพร โมกขะเวส. (2566). ผลกระทบของทักษะวิชาชีพผู้ทําบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบก. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 13(4), 1133-1147.
ธนพัฒน์ มาลัยกรอง และ ละมัย ร่มเย็น. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 3(3), 203-219.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2567). ทำบัญชี ประโยชน์ดีเกินคุ้ม. สืบค้นจากhttps://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/benefits-account-for-well-over
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2553). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
พรนภา ภาคธรรม และ ภิญญาดา รื่นสุข. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ดี เอช แอล ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 16(2), 299-312.
ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2564). ทักษะทางวิชาชีพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานงบการเงิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7(1), 272–284.
มาย แอคเค้าท์ คลาวด์ แอคเค้าท์ติ้ง. (2566). ความสำคัญของนักบัญชีต่อธุรกิจในยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. สืบค้นจาก
https://www.myaccount-cloud.com/Article/Detail/88467/
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่อง ทักษะทางวิชาชีพ. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/eq6p8RJwV0.pdf
สุลิตา สุปิณะ อรยา เรียบไธสงค์ และ ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์. (2563). การศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี: กรณีศึกษา นักบัญชีในเขตกรุงเทพมหา นครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(1), 123–132.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). สสว. คาดการณ์ GDP SME ปี 2567. สืบค้นจาก https://mgronline.com/smes/detail/
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). จำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2566). รายงานสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ราย 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2565). สืบค้นจาก https://pathumthani.industry.go.th/
อาทิตยานันท์ ยุระยาตร์ และอุษณา แจ้งคล้อย. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และประสิทธิผลการทำงานในสำนักงานบัญชีของผู้ทำบัญชี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(1), 244-257.
Bass, B. M. (1985 a). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press, MacMillan.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.
Black, K. (2010). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 6th ed. New York: John Wiley & Sons.
Peterson, E. and Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์