การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปัณชิกา ลับเหลี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ทรัพยากรมนุษย์สีเขียว, ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน, องค์กรสีเขียว

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรสีเขียวของพนักงานในจังหวัดขอนแก่น และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
     1. พนักงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานมีคามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวผ่านการสื่อสารภายในองค์กรในระดับมาก รองลงมาคือ มีความรู้ความเข้าใจผ่านการจัดการผลการปฏิบัติงาน และมีความรู้ความเข้าใจผ่านการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัล ตามลำดับ
     2. พนักงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นว่าผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นจากด้านการนำกลับมาใช้ใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการลดการใช้ และด้านด้านการใช้ซ้ำ ตามลำดับ
     3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านค่าตอบแทนและการให้รางวัล แรงงานสัมพันธ์ และการสื่อสารภายในองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในขอนแก่น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01

References

ภัทรชนก เหลืองไพบูลย์ และคณะ.(2563).ศึกษาความสำเร็จในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.วารสารสมาคมนักวิจัย,25(1),211-224.

วัชระ เวชประสิทธิ์.(2564).รูปแบบกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย.วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ,12(1),57-79.

บุญซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรัทยุมน เลปนานนท์ และ อัศวิน แสงพิกุล.(2566).การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.),29(1),10-23.

ลัดดาพร กุลแก้ว และคณะ.(2565). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย.วารสารศิลปการจัดการ, 6(3),1233-1249.

ศรากุล สุโคตรพรหมมี และคณะ.(2566).ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่.วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,6(3),54-72.

สุภาวดี ธงภักดิ์พิทักษ์ ศิริวงศ์ และ ระชานนท์ ทวีผล.(2566).กลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา,13(4),1051-1068.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2565).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570).สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น.(2565).แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2566 – 2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.กลุ่มนโยบายและแผนงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น.

อุมาวสี ศรีบุญลือ และคณะ.(2566).ผลกระทบของการสื่อสารองค์การที่มีต่อการจัดการการฟื้นฟูสีเขียวและผลการดำเนินงานขององค์การ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย.

วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,6(3),73-92.

Accenture. (2012). Long-Term Growth, Short-Term Differentiation and Profits from Sustainable Products and Services. a Global Survey of Business Executives.

Barney, J. B. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage.Journal of Management, 17, 1: 99-120.

Best, J.W. (1997). Research in Education. 3rd ed. New Jersey : Prentice Hall Inc.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

David, F. R. (2009). Strategic Management. 12th ed. Upper Saddle River, New Jersey:Pearson Education International.

Green Hotels Association. (2023). What Are Green Hotels? accessed 28 August 2023. available from https://greenhotels.com/index.php#a.

National Geographic. (2022). How ‘net-zero’ hotels could make travel more climateFriendly. accessed 25 October 2023. available from https://www.nationalgeogra phic.com/travel/article/how-net-zero-hotelscould-make-travel-more-climatefriendly.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1985). A conceptual model of servicequality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49: 41-50.

Renwick, D.W.S., Redman, T., & Maguire, S., (2016). Green human resource management: A review and research agenda. International Journal of Management Reviews, 18(1), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

ลับเหลี่ยม ป. (2024). การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 60–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276421