การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พรรณทิมา วรรณสุทธิ์ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ศักดิ์ดา เกิดการ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • วลัยลักษณ์ พันธุรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก, ผลิตภัณฑ์จักสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากการจักสานด้วยพลาสติกของกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากการจักสานด้วยพลาสติกของกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากร คือ กลุ่มประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ จำนวน 50 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 50  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปผล

          ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน และมีรายได้ 15,000-20,000 บาท
  2. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระลึก คือ ซื้อเป็นของฝากให้ผู้อื่น ราคาในการซื้อแต่ละครั้งอยู่ที่ 1,000 ถึง 5,000 บาท สถานที่เลือกซื้อมักซื้อจากสถานที่ผลิตโดยตรง รู้จักสินค้าที่ระลึกจากคำบอกเล่า ซื้อสินค้าของที่ระลึกประจำทุกปี ส่วนของที่ระลึกที่ซื้อบ่อย อันดับ 1 ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค อันดับ 2 คือ ประดับตกแต่ง อันดับ 3 เครื่องจักสาน และอันดับสี่คือ เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค และผลิตภัณฑ์จักสานขนาดเล็กที่นิยมซื้อเป็นของที่ระลึกคือ พัด
  3. ความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในด้านการใช้งานผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความคงทน และสะดวกต่อการใช้งาน สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในได้ชัดเจน เป็นของฝากโดยไม่ต้องห่อซ้ำ และบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ในด้านการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย และสวยงาม สะดุดตา

References

กฤษดากร เศรษฐเสถียร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรรณิการ์ สายเทพ และพิชญา เพิ่มไทย. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง.วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่,10(2),1-11

กิติยา คีรีวงก์, วรรณวิสา ไพศรี และอรจิต ชัชวาล. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), 68-85.

กมลรัตน์ คำนวณและคณะฯ. (2550). ปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตจตุจักร. กรุงเทพมหานคร

จง บุญประชา . (2553). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก. ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิญาภา เสถียรคมสรไกรและ พิมพ์สิรี สุวรรณ.(2565).การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทรัพยากรท้องถิ่น.Journal of Roi Kaensarn Academi,8(2),413-432

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ และชญานนท์ กุลฑลบุตร. (2559). เรื่องเล่าจากงานวิจัยชุมชน รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มภาคกลางตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนา จังหวัดตาก ปี 2561-2564. ตาก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565)

สมศักดิ์ ทองแก้ว พิชัย สดภิบาล และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). ผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

อภิชาติ ใจอารีย์. 2559. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม2559.แหล่งที่มา: http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5503028.pdf

อุษณีย์ พรหมศรียา และคณะ.(2565).การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบมัดย้อมสําหรับ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อําเภอรามัน จังหวัดยะลา.วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า,9(1),51-63

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

วรรณสุทธิ์ พ. . ., เกิดการ ศ. ., & พันธุรี ว. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก กรณีศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 259–268. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276190