การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ระดับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงและศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น โดยมีวิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและระดับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของผู้บริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น โดยรวมอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น มีความสัมพันธ์กัน ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัญวัญญ์ ธารีบุญ. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. (2564). ข้อมูลทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 จาก https://ahs.northern.ac.th.
จิราภรณ์ เพชรทัต และสำเริง อ่อนสัมพันธ์. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 7(2), 105-116.
ณัชญานุช สุดชาดี ถนอมวรรณ, ประเสริฐ เจริญสุข และทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้น าของผู้บริหารและพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์การ สมรรถนะสูง: การวิเคราะห์อิทธิพลผ่านตัวแปรคั่นกลาง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(2), 67-77.
ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2557). คุณลักษณะและแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง. การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 7 สำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก http://sdgs.nesdc.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558 (Publish Sector Management Quality Award). กรุงเทพฯ: วีชั่นพริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.
Baksh, A. M. (1995). The relationship between participative management and job attitudes. Dissertation Abstracts International. 56(1), 351.
Harris, A. (2003). Teacher Leadership as Distributed Leadership: heresy, fantasy or possibility?. School Leadership & Management. 23(3), 313.
Holbeche, L. (2005). The High-Performance Organization: Creating Dynamic Stability and Sustainable Success. Amsterdam: Elsevier.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Kajornatthapol Pongwiritthon, Salinee Chaiwattanaporn, Sikarnmanee Syers,Pakphum Pakvipas, Sutheemon Chongesiriroj. (2020). Development Guidelines of Transformational Leadership of the School Administrator of Schools in Special Economic Zone: Chiang Rai. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation. 6(6), 1-15.
Peters, Thomas J., & R.H. Waterman. (1982). In Search of Excellence: Lessons fromAmerica’s Best Run Companies. New York: Harper & Row.
Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2003). Organizational Behavior. (9th ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.
Swansburg, R. M. (1996). Management and leadership for nurse managers. Boston: Jones and Bartlett.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์