สภาพแวดล้อมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรมีผลต่อแรงจูงใจ ในการทำงาน กรณีศึกษา : โรงงานมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด

ผู้แต่ง

  • เขมจินันท์ เทิดทูนการค้า สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ วิทยานอร์ทเทิร์น
  • ปณิตา อินทะจันทร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ วิทยานอร์ทเทิร์น
  • เมฆินทร์ สุรเมฆินทร์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ วิทยานอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัยสภาพแวดล้อม , ความผูกพันต่อองค์กร , แรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัทมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัทมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด 3) ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อ แรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัท มะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด แตกต่างกัน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมและความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัท มะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานที่ทำงานเฉพาะบริษัทมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด จำนวน  150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับ ด้านกายภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านสวัสดิการ อยู่ในระดับน้อย
  2. ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การทุ่มเทความพยายามในการปฏิบัติงานและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร
  3. ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัท มะลิกรุ๊ป1962 จำกัด พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีสัมพันธภาพ และด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความเจริญก้าวหน้า และด้านการอยู่รอด
  4. ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัดแตกต่างกัน โดยพบว่า ระดับการศึกษามีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านเพศ อายุ และสถานภาพ ไม่แตกต่างกัน
  5. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมและความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานบริษัท มะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด พบว่า สภาพแวดล้อมและความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท   มะลิกรุ๊ป1962 จำกัด โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง    

References

กิติมา ปรีดีดิลก.(2529).การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพฯ:อักณานิพัฒน์.

กฤตภา คินมิ่งโสภา และคณะ.(2566).แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี.วารสารวิทยาลัยสังฆ์นครลำปาง,12(3),31-50.

ชุติมา มาลัย.(2538).ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล วงษ์ชวลิตกุล.(2559). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ธนาคารออมสินในจังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ทวีวรรณ อินดา.(2546).ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสายสนับสนุนวิชาการ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขาบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

นิวัตต์ จุลจำเริญทรัพย์ และ อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์.(2563). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,6(2),33-45.

มัทวัน เลิศวุฒิวงศา.(2564).ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของพนักงานเอกชน.สารนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จํากัด. สมุทรปราการ มหาวิทยาลัยเกริก.

ปฏิมากร ทิพเลิศ.(2565). ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร.หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.

ลำพูน เอกฐิน.(2542).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สกุลนารี กาแก้ว.(2546).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานการรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement,30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

เทิดทูนการค้า เ., อินทะจันทร์ ป. ., & สุรเมฆินทร์ เ. (2024). สภาพแวดล้อมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรมีผลต่อแรงจูงใจ ในการทำงาน กรณีศึกษา : โรงงานมะลิกรุ๊ป 1962 จำกัด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1), 321–334. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/275933