การประเมินประสิทธิภาพการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยวในประเทศไทย ด้วยวิธีเทคนิคการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • นันทพันธ์ วิเศษแก้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ติณณ์ณเทพย์ รุ่งศรีตระกูล หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ปริญญา โกวิทย์วิวัฒน์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการดำเนินกาพ , ท่าอากาศยาน , ศูนย์กลางการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยวในสังกัดกรมท่าอากาศยาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยวในสังกัดกรมท่าอากาศยาน การวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลแบบทุติภูมิ จากรายงานประจำปี เอกสาร การทวบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มประชากรคือ ท่าอากาศยานรองจำนวน 28 แห่ง ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ท่าอากาศยานที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยว โดยใช้วิธี ABC Classification ในการคัดเลือกจากปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกท่าอากาศยาน ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 6 ตัวแปร ได้แก่ 1) จำนวนสายการบินที่ประจำที่ท่าอากาศยาน 2) ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) 3)จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ท่าอากาศยานตั้งอยู่ 4) การเชื่อมต่อสถานที่ท่องเที่ยวระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร  5) ด่านตรวจคนเข้าเมือง และ 6) จำนวนสายการบินที่ท่าอากาศยาน ส่วนปัจจัยนำออกมี 1 ตัวแปรคือ จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกท่าอากาศยาน จากนั้นทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าและปัจจัยนำออกด้วยการสร้าง Correlation Matrix จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน งานวิจัยนี้มีเครื่องมือหลัก คือการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) โดยคำนวณคะแนนประสิทธิภาพจากตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC เพื่อคำนวณค่าคะแนนประสิทธิภาพด้านขนาด (Scale Efficiency: SE) โดยพิจารณาในมุมมองด้านปัจจัยนำเข้า ค่าคะแนนประสิทธิภาพมีค่าระหว่า 0-1

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยวในประเทศไทย คือ1)จำนวนสายการบินที่ประจำที่ท่าอากาศยาน 2)ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) 3)จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ท่าอากาศยานตั้งอยู่ 4)การเชื่อมต่อสถานที่ท่องเที่ยวระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร 5)ด่านตรวจคนเข้าเมือง และ 6)จำนวนสายการบินที่ท่าอากาศยาน
  2. ท่าอากาศยานที่มีศักยภาพการเป็นศูนย์กลางท่าอากาศยานท่องเที่ยวในประเทศไทย คือท่าอากาศยานกระบี่ ท่าอากาศยานอุดรธานี และท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี โดยมีค่าคะแนนประสิทธิภาพทั้ง 3 ตัวแปรเป็น 1.00 และเป็นที่น่าสังเกตุว่ายังมีท่าอากาศยานอีก 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานขอนแก่น และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช หากเพิ่มปัจจัยนำเข้ามากขึ้นจะมีจำนวนผู้โดยสารเดินทางเข้าออกท่าอากาศยานมากขึ้น

References

กรมท่าอากาศยาน (2566). สถิติการเดินทางผู้โดยสารเข้าออกท่าอากาศยาน ระหว่างปี 2553-2566. ข้อมูลและบริการวิชาการ

กรมท่าอากาศยาน (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมท่าอากาศยาน ปี พ.ศ. 2560 – 2564. ข้อมูลและบริการวิชาการ

กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา (2563). รายงานประจำปี 2563 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ฝ่ายข้อมูลสถิติของกระทรวง

จารุภา คงขาว (2558). การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานสายการบินต้นทุนต่ำของไทย กรณีศึกษา สายการบินนกแอร์เปรียบเทียบกับไทยแอร์เอเชีย. การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นิรุทธิ์ วัฒนะแสง และคณะ (2561). ทิศทางงานวิจัยสำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการตัดสินใจ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบล้อมกรอบข้อมูลในประเทศไทย. ในการประชุมวิชาการข่ายงาน วิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2561. 23-26 กรกฎาคม 2561. ณ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. หน้า 293-299

ฟังเสียง ยิ้มฤทัย และนิศากร สมสุข (2560). การวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติการเข้า-ออกเขตการบินของอากาศยานในท่าอากาศยานขนาดกลาง ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีที่ 11. ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม 2560

สมหมาย วังอนุสรณ์ (2560). การลงทุนในหุ้นต่างหมวดธุรกิจสามารถกระจายความเสี่ยงได้หรือไม่ กรณีศึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานผลวิจัยของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2566). สถิติการท่องเที่ยวและกีฬา

อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย ภิรายุ แสนบุดดา และนภัสวรรณ คุ้มครอง (2566). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังของวิสาหกิจชุมชนปลาร้าหลนนิคมสงเคราะห์. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีที่6. ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2566

Fragoudaki., A and Giokas., D (2016). Airport performance in a tourism receiving country: Evidence from Greece. Journal of Air Transport Management. Vol 52, pp.80-89.

Gillen. D, Lall. A (2001). Non-parametric measures of efficiency of US airports. International Journal of Transport Economics. pp. 283-306

Lin, L.C & Hong, C.H (2006). Operational performance evaluation of international major airports: an application of data envelopment analysis.J. Air Transport. Manag., 12 (6), pp. 342-351

Iyer., K and Jain.,S (2019). Performance measurement of airports using data envelopment analysis: A review of methods and findings, Journal of Air Transport Management. Volume 81, October 2019.

Montoya-Quintero., D.M, Larrea-Serna., O.L and Jiménez-Builes., J.A (2022). Evaluation of the Efficiency of Regional Airports Using Data Envelopment Analysis, Informatics 2022, MDPI. Vol 9.

Özsoy, V.S & Örkcü, H.H (2021). Structural and operational management of Turkish airports: a bootstrap data envelopment analysis of efficiency. Util. Pol., 69, Article 101180.

Stichhauerova. E & Pelloneova. N (2019). An efficiency assessment of selected German airports using the DEA model, Journal of Competitiveness, 11 (1), pp. 135-151.

Yoshida. Y & Fujimoto.H (2004)Japanese-airport benchmarking with the DEA and endogenous-weight TFP methods: testing the criticism of overinvestment in Japanese regional airports. Transport. Res. E Logist. Transport. Rev., 40 (6), pp. 533-546

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite