การยอมรับเทคโนโลยีและสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, สมรรถนะหลัก, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ที่ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 320 สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability sampling) แบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ผ่านแบบสอบถามแล้วนำไปวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารที่มีตำแหน่งปลัดเทศบาลมาไม่น้อยกว่า 2 ปี จำนวน 5 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครสรุปได้ดังนี้
- ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ คือ ควรมีการพัฒนาความรู้และความสามารถของข้าราชการควบคู่กันไปการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำทุกเดือน ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ ใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ควรใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับมีการจัดเก็บรูปภาพ เอกสาร ต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเรียกใช้ไฟล์หรือเอกสารได้ตลอดเวลา และควรส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
- ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ควรส่งเสริมให้ข้าราชการบรรจุใหม่มีการเรียนรู้ในงานของตนเองให้มากขึ้น ควรมอบหมายงานให้ตรงกับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และควรมีการประชุม
- ด้านการทำงานเป็นทีม ควรจัดให้ผู้ปฏิบัติงานเหมาะสมในแต่ละงาน แต่ละหน้าที่ และหัวหน้างานแต่ละส่วนกำกับกำชับให้ผู้ปฏิบัติงานมาตรงเวลา ควรให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแสดงความคิดเห็นกับผู้บริหารได้ เพื่อให้ได้งานตรงตามสเปคที่กำหนดได้ ควรสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดความสามัคคีในองค์กร ควรจัดการประชุมในการปฏิบัติงานทุกครั้ง เพื่อมอบหมายงานให้แต่ละคนอย่างชัดเจน และมอบหมายงานที่ถนัดและให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือควรจัดอบรมข้าราชการในทุก ๆ เดือน เพื่อให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยได้แสดงความคิดเห็นกับผู้บริหารได้
References
คุณากร กรสิงห์. (2565). แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,9(5),51-68
นิกร บุญล้น. (2563). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นจาก http://www.islocal.ru.ac.th/pdffile/is163/6214880016.pdf.
ธิดาพร บูระณะพล. (2561). การปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw12/6114961043.pdf.
ปติณญา เหลือสุข. สุนันทา ณรงค์ฤทธิ์ และภารดี นึกชอบ. (2563). สมรรถนะการทำงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานการเงินและบัญชี : กรณีศึกษา ในหน่วยงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตปริมณฑล. สืบค้นจาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2563Vol11No1_21.pdf.
ยุวกรณ์ คำชมภู. (2564). การรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งตามหลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศุภนิดา โคตรชาดา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2566). คุณลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดีและการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,16(2),422-435
สันติ เสือขำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ปฏิบัติงานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี. สืบค้นจาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://www.ba-abstract.ru.acป563-5-7_1629780660.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก (เผยแพร่ พ.ศ. 2553). สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/ sites/default/files/document/25531130-khuumuuekaarkamhndsmrrthnaainra achkaarphleruuen-khuumuuesmrrthnahlak-isbn-9786165480734.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580),พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร. (2566). โครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้นจาก http://samut sakhondla.go.th/.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 318-339.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: Acomparisonof two theoretical models [Electronics version]. Journal of Management Science, 35(8), 982 – 1003.
Nguyen Thi Tuoi and Nguyen Nghi Thanh. (2023). THE IMPACT OF DIGITAL CAPABILITIES ON THE WORK PERFORMANCE OF PROVINCIAL CIVIL SERVANTS IN VIETNAM. สืบค้นจาก https://ojs.journalsdg.org/jlss/article/view/560/402.
Peterson, Elmore and E. Grosvenor Plowman. (1953). Business Organization and Management. Home
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row. New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์