ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรการการกำกับดูแล ด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

ผู้แต่ง

  • คำรณ น้อยสอาด นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการ,คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อัศวิณ ปสุธรรม วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ , ทัศนคติ, ความรู้ความเข้าใจ, ทัศนคติ, มาตรการ AML/CFT

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ขอ'มาตรการการกำกับดูแล ด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรการการกำกับดูแลด้านการป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยผลกระทบที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรการการกำกับดูแลด้านการป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 2,387 คน กลุ่มตัวอย่างพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการเงินฝากและ สินเชื่อ จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้แบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การความถดถอยเชิงพหุคูณ  

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) คิดเป็นร้อยละ 98.9
  2. ทัศนคติในการปฏิบัติงาน เช่น ระบบสารสนเทศของธนาคารมีความทันสมัย มีการอัพเดทข้อมูล ให้ทันต่อสถานการณ์และสามารถเรียกดูข้อมูลได้อย่างทันท่วงที รองลงมาคือ นโยบาย AML/CFT ของธนาคาร ช่วยอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานราชการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้ในระดับสูงและท่านคิดว่าการกำหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานธุรกรรมที่เป็นเงินสด ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปแก่สำนักงาน ปปง. ถือเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ของมาตรการกำกับกับดูแลด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  3. ผลกระทบด้านการเมือง ผลกระทบต่อภาครัฐ ผลกระทบด้านสังคม และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรการการกำกับดูแลด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF). (2564).

ชมเกตุ งามไกวัล, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล และอุนิษา เลิศโตมรสกุล (2559).ปัญหาการฟอกเงินในธนาคารต่างชาติในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน.วารสารกระบวนการยุติธรรม. 9(1),83-105.

ทรรศนีย์ หลีชัยสถาพร. (2558). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยมาตรการต่อต้านการฟอกเงิน กรณีศึกษา : การปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลด้นการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพฑูรย์ ประเสริฐไกล.(2561).การศึกษาการฟอกเงินกับตัวแปรทางเศรษฐกิจระดับมหภาค. คณะศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).(2564). แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคลและธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินงานในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร. รายงานทีอีอาร์ไอ ฉบับที่ 181 ตุลาคม 2564.

อลิสรา กังวล , และศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2562). การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไปปฏิบัติ ศึกษากรณี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ,7(3), 35-42.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York :Harper & Row.

ประสพชัย พสุนนท์ (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

International Monetary Fund.(2017).Anti-money laundering and counter-terrorist financing measures: Thailand Mutual Evaluation Mutual Evaluation Report.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

น้อยสอาด ค. ., & ปสุธรรม อ. . (2024). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรการการกำกับดูแล ด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 45–53. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/274779