ผลกระทบของภาวะผู้นำระดับหัวหน้างานต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ประสิทธิภาพ, หัวหน้างานบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบของภาวะผู้นำระดับหัวหน้างานต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (2) ศึกษาผลกระทบของภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นที่ศึกษาจากเอกสาร ตำรา ทฤษฎี และเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ แบบสอบถามดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เมื่อทดสอบค่า IOC พบว่ามีคะแนน IOC > 0.5 ทุกข้อ โดยกำหนดประชากร คือ พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ระดับพนักงานที่ต่ำกว่าตำแหน่งหัวหน้างาน จำนวน 3,568 คน กลุ่มตัวอย่างตามสะดวกจำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านพฤติกรรมของผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ และคุณธรรมจริยธรรมส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับส่วนการบริหารและควบคุมงานของผู้นำส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. การมองการณ์ไกล และความมั่นใจในตัวเองส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการตือรือร้นส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
ธีธัช เลาหวิโรจน์ และ กฤชนนท์ อัยยปัญญา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานในองค์กรเอกชน.
นิตยา พรมจันทร์ (2562). แรงจูงใจและภาวะผู้นำที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรยุค 4.0 กรณีศึกษา บริษัท อาซีฟา จำกัด มหาชน. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ปิยณัฐ วงศ์เครือศร. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ปริญญาครุศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
พสุ เดชะรินทร์. (2549). การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2567) รูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยตำรวจ. วารสารวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม มสธ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2567)
พันทิยา ทรัพย์ประเสริฐ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เรดซีน จำกัด. งานวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัทรี บุญเจริญ (2560). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมของผู้นำ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานองค์กร ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรีสุรัตน์ ปริสุทธิอมร (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้นำที่มีประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ. บทความออนไลน์ สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธีร์ลดา ธีราวัชรเศรษฐ์ (2566). ภาวะผู้นำกับทักษะการสร้างสันติภาพของผู้นำท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วารสารธรรมเพื่อชีวิต ,Volume 29 Issue 4 (October – December 2023)
Zaenal M. E.,Priyono, Rahayu, P. S.,and Teddy, Chandra. (2015). Effect of Leadership Style, Motivation, and Giving Incentive on the Performance of Employees-PT. (Kurnia Wijaya Various Industries.” Internation Education Studies), 8.(10). 108-192.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์