ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อภิชิต ดวงธิสาร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ไพรัช บุญประกอบวงศ์ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สิทธิเดช วงศ์ปรัชญา หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การบริหาร, ปัจจัยสำคัญ, การปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารการปกครองท้องถิ่น (2) ระดับการบริหารการปกครองท้องถิ่นตามหลักบริหารการจัดการของ McKinsey 7-S Framework และ (3) ทิศทางการปกครองท้องถิ่นในอนาคต โดยศึกษาการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างบุคลากรและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิจัยเชิงพรรณนา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่นจำนวน 5 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์คำถามปลายเปิดกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.91, S.D. = 0.78) เมื่อพิจารณาปัจจัยรายด้าน พบว่ามีผลต่อการบริหารการปกครองท้องถิ่นในระดับมากทุกปัจจัย เรียงลำดับปัจจัยที่มีระดับความสำคัญตามค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้ดังนี้ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ มีค่าระดับความสำคัญมากที่สุด 4.08 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านงบประมาณ มีค่าระดับความสำคัญ 4.03 และปัจจัยด้านการวางแผน มีค่าระดับความสำคัญ 3.97 ตามลำดับ
  2. ระดับการบริหารตามหลักการบริหารการจัดการของ McKinsey 7-S Framework ในการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.92, S.D. = 0.79) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านกลยุทธ์องค์กร (x̄ = 4.24, S.D. = 0.78) รองลงมาคือ ด้านรูปแบบการบริหาร (x̄ = 4.21, S.D. = 0.80) และด้านบุคลากร (x̄ = 4.18, S.D. = 0.84)
  3. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นในอนาคตแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การบริหารการปกครองภายใน และ 2) การบริหารการปกครองท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคประชาชนและทุกภาคส่วนในชุมชน

References

กิตติ์รวี เลขะกุล. (2562). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาล ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,6(1),78-91

เกียรติยศ ระวะนาวิก. (2565). การบริหารจัดการที่ดีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม,7(3),123-136

ตรงกมล สนามเขตและคณะ. (2565). แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกำหนดปัจจัยแห่งความสําเร็จจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยวิชาการ,5(1),129-141

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร.พุทธปัญญาปริทรรศน์,5(1),142-155.

ธนพร มากระจัน. (2558). ทักษะการบริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนภัท คุณสมบัติ. (2566). ศึกษาเรื่องการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์),17(3),196-212

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,3(2),183-196.

พิทยา บวรวัฒนา. (2558). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์

พัชรพร ทองจันทนาม. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2558). 15 ปี การกระจายอำนาจของไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาริณี มะลิลา (2566). การพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์),17(3),126-142

สุปัญญดา สุนทรนนธ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,9(5),372-387

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. (2563). จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก: http://www.chaiyaphum.pao.go.th/cliniccenter/page_clinic/C120.html)

Drucker. Peter F. (1979). The Effective Executive. New York: Harper and Row.

Harris, B.M. (1985). Supervision Behavior in Education (2rd ed). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Katz. Robert L. (1974, September-October). Skill of AN Effective Administrator. Harward Business Review.

Koontz Harold D. and Cyril O’Donnell. (1972). Principles of Management: An Analysis of Managerial Functions. New York: MC Graw – Hill.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite