การมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียน โรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มนัสชัย ประทุมปี นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครู, การพัฒนาคุณธรรม, โรงเรียนคาทอลิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียน (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียน จำแนกตาม ระดับการศึกษา อายุงานปัจจุบัน และรายได้ของครูต่อเดือน (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.การมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

          2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา อายุงานปัจจุบัน และรายได้ของครูต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน

          3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียน โรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา พบว่า โรงเรียนควรให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์ รักเมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญูอยู่อย่างพอเพียงอย่างชัดเจน

References

คณะทำงานส่งเสริมกระบวนการรับรองมาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ (2565). สรุปรายงาน โครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม สู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมวิถีคริสต์. คณะทำงานส่งเสริมกระบวนการรับรองมาตรฐาน โรงเรียนคุณธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2565.

จิณณะ สิทธิวงษ์. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt17/6414993064.pdf

จิราพร เฉินจุณวรรณ. (2562). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.atc.ac.th/FileATC/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%).pdf

จิราวัลย์ จันทร์ศิริ, พระปลัดโฆษิต โฆสิโต และธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563).

ทิพวัล มลิแสง. (2553). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

นุชนภา เรืองเดชไชย. (2561). การส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหัววัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา (รสน.) ฉบับที่ 2 (2563-2567). ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลนครราชสีมา.

พรสวรรค์ พงษ์ดี. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. จังหวัดลพบุรี.

พระปรเมศวร์ ปญฺญาวชิโร (แจ่มแจ้ง). (2554). ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลกัธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลกัสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพุทธศักราช 2554.

พระมหาตุ๋ย ขนฺติธมฺโม (คำหน่อ) พระสมุห์พุฒิพงษ์ พุทฺธิวํโส (กล่ำทวี). (2564). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21. “ครูผู้สร้างคน” วารสารภาวนาสารปริทัศน์ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2564).

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (2562). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาความเป็นครูและคุณธรรมจริยธรรม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2562.

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. (2561). คู่มือนักเรียนและผู้ปกครองดรุณสิกขาลัยโรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประจำปีการศึกษา 2561. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://e-school.kmutt.ac.th/Upload/N11530081592.pdf

โรงเรียนบ้านสบกอน. (ม.ป.ป.). คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://sobkornschool.ac.th/uploadDownload/sobkornschool158_20230822165910_13137.pdf

ศิริรัตน์ รัตนะ. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดบางปะกอก. วารสารบัณฑิตศึกษา มรภ. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 6(1) มกราคม-มิถุนายน 2564.

ลักขณา ธรรมสุภาพงศ์ และเอมอร หวานเสนาะ. (2563). แรงจูงใจของนักศึกษาในการออมเงินกับโครงการธนาคารโรงเรียน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (2020) : กันยายน–ธันวาคม 2563, 149.

สถิระ ราชรินทร์. (2561). วิเคราะห์เมตตาในฐานะเป็นฐานแนวคิดภราดรภาพ. วารสาร มจร. ปรัชญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2561), 4.

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2012). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ปี ค.ศ.2012-2015. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 2555), 8-10.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2546). วิทยาการวิจัย. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2555). เสวนาประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเตรียมรับการประเมินภายนอกรอบ 3. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566. จาก shorturl.at/dhoEd<http://drsuphakedqa.blogspot.com.>20 กุมภาพันธ์ 2555.

สุรชัย เจริญพงศ์. (2563) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา(รสน) ฉบับที่ 2(2563-2567). ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลนครราชสีมา.

สุรินทร์ จารย์อุปการะ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2558). การจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม 7, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558).

เอกชัย ชิณโคตร. (2564). สรุปรายงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ปี พ.ศ. 2564 กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมวิถีคริสต์. คณะทำงานส่งเสริมกระบวนการรับรองมาตรฐาน โรงเรียนคุณธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

ประทุมปี ม., & นาควิเชตร ก. . (2024). การมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาคุณธรรมตามอัตลักษณ์นักเรียน โรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 175–190. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/274499