การเล่นที่เสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การเล่น, ทักษะสมอง EF, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย เช่น ครูผู้สอน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องร่วมมือช่วยเหลือ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยการเสริมสร้างทักษะสมอง EF ซึ่งครูผู้สอน พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถนำมาจัดเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนและในวิถีการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เด็กปฐมวัยจะได้รับการบ่มเพาะอบรมขัดเกลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่นที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นสถานการณ์ท้าทายที่เด็กปฐมวัยต้องแก้ปัญหาและวางแผนควบคุมอารมณ์ โดยมีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการยั้งคิดไตร่ตรอง ด้านความจำเพื่อใช้งาน ด้านการยืดหยุ่นความคิด ด้านการควบคุมอารมณ์ และด้านการวางแผนจัดระบบดำเนินการ โดยทักษะสมอง EF ทั้ง 5 ด้านนี้จะเกิดขึ้นในขณะที่เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นนั่นเอง
การเล่นคือประสบการณ์และกิจกรรมทุกชนิดที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของเด็กปฐมวัยที่นอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะและการสร้างความสัมพันธ์ในทางสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ที่จะใช้วัสดุเครื่องมือต่าง ๆ รู้จักหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้าน ให้เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
References
กรมอนามัย (2563). คู่มือเล่นเปลี่ยนโลกสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด. 12-34.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ และคณะ. (2562). คู่มือครูและผู้ปกครอง การเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เพอลังอิ พับลิชซิ่ง. 27-70.
ณัฏฐนี สุขปรีดี. (2564). การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในสภาวะวิกฤต. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/article-executive-functions-151221. (31 มี.ค. 2567).
เด็กสินแพทย์ รพ.. (2563). ของเล่นกับการเล่น เล่นอย่างไรให้ดี และปลอดภัย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.synphaet.co.th/children-ramintra. (9 ธ.ค.2566).
ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2555). “ทักษะสมอง EFกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย”.คู่มือพัฒนาทักษะสมอง(EF) Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). 60-85.
ปิยนันท์ พูลโสภา (2560). “การพัฒนาการเล่นเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21”. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน ์. ปีที่ 32(1). 24.
ยุพิน พลหนา. (2564). บทบาทครู กับการพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการ “ให้โอกาส”. (ออนไลน์).สืบค้นจาก https://www.edbathai.com. (30 มี.ค. 2567).
สุวรรณชัย พัฒนายิ่งเจริญชัย. (2565). การเล่น 6 แบบสัมพันธ์กับพัฒนาสมองเด็ก. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1043416. (9 ธ.ค.2566).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). 7-49.
หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 8.
Aksorn Education. (2019). กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่า เข้าใจไหม และ ไม่รีบเฉลยคำตอบ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.aksorn.com/think-critically. (30 มี.ค. 2567).
Barkley, R. A. (2012). Executive Functions: What They Are, How They Work, and Why They Evolved. New York: Guilford Press.
Youngciety. (2566). การส่งเสริมพัฒนาการผ่านการเล่น และ ความสำคัญของการเล่นในเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.youngciety.com/article/journal/learning-through-play-for-kids.html. (9 ธ.ค.2566).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์