การประยุกต์ใช้โครงข่ายการกระจายสินค้าแบบผ่านศูนย์กระจายสินค้าเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้า กรณีศึกษา ร้านค้าปลีก ประเทศกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เพชรนาคิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านบัญชี ธุรกิจครบวงจรภูมิภาค บริษัท ซีพี กัมพูชา จำกัด
  • นันทิ สุทธิการนฤนัย สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

โครงข่ายการขนส่งและกระจายสินค้า , การเลือกทำเลที่ตั้ง , ศูนย์กระจายสินค้า , ต้นทุนค่าขนส่ง , ระยะเวลาการคืนทุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนโครงข่ายการขนส่งและกระจายสินค้าแบบตรงไปเป็นแบบผ่านศูนย์กระจายสินค้า กรณีศึกษาของร้านค้าปลีกเฟรชมาร์ทในประเทศกัมพูชา (2) ศึกษาศักยภาพในการลดเที่ยวรถเปล่าและลดต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าของร้านค้าปลีก เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า และ (3) บริหารจัดการสต็อกสินค้าไว้สำหรับบริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ได้จาก 1) การรวบรวมและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจภายในองค์กร และฐานข้อมูลด้านธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) การรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน และ 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้านการขนส่ง ทฤษฎีการบัญชีต้นทุน การเลือกทำเลที่ตั้งด้วยวิธีการประเมินปัจจัย และการคำนวณหาเวลาการคืนทุน ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลด้านต้นทุนและผลประหยัดที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจสร้างศูนย์กระจายสินค้าและปรับเปลี่ยนโครงข่ายการกระจายสินค้า

          ผลวิจัยพบว่า จังหวัดบันเตียเมียนเจยเหมาะสมที่สุดสำหรับการตั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้า การสร้างศูนย์กระจายสินค้า ก่อให้เกิดต้นทุน 762,480 บาท การปรับเปลี่ยนโครงข่ายการขนส่งสินค้าเป็นแบบผ่านศูนย์กระจายสินค้า จะช่วยลดจำนวนเที่ยวของการวิ่งรถเที่ยวเปล่าและลดต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าลงได้ คิดเป็นผลประหยัดรวมทั้งสิ้น 2,593,949 บาท และบริษัทจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 0.4 ปี และร้านค้าปลีกสาขาทุกแห่งมีปริมาณสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

References

กิตติพงศ์ กิตติถาวรกุล,สิทธิพร พิมพ์สกุล. (2555). การจัดตารางรถขนส่งขาเข้าและขาออกสำหรับศูนย์กระจายสินค้ารูปแบบครอสด็อกในธุรกิจร้านค้าปลีกด้วยวิธีฮิวริสติก. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 35(2), หน้า 224-225.

กฤชชัย อนรรฆมณี.(2563). ส่งมอบตรงเวลาและครบจำนวน ปัจจัยของการพัฒนาผลิตภาพ. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/124007.

พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญ. (2560). การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยเทคนิควิธีศูนย์กลางโน้มถ่วงและวิธีการประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5579, (2566, 2 สิงหาคม)

ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี, นันทิ สุทธิการนฤนัย และ สราวุธ จันทร์ผง. (2564). การปรับปรุงโครงข่ายการกระจายสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบขายหน้าร้าน เพื่อลดต้นทุนการกระจายสินค้า: กรณีศึกษา บริษัทเอบีซี จำกัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1),19–33.

วิภาวรรณ พันธุ์สังข์. (2554). การพัฒนาระบบวางแผนการขนส่งเพื่อลดการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อุดมทัศนีย์ อินทรโชติ.(2544).การออกแบบระบบการจัดการคลังสินค้าในส่วนกิจกรรมครองสส์-ด็อกกิ้ง .จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.สืบค้นจาก

https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10838. (2566, 18 สิงหาคม)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite