การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนบ้านคลองหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

ผู้แต่ง

  • สกุณา บุญรอดรัมย์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านคลองหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการเรียนรู้ , ครูมืออาชีพ , คุณภาพของผู้เรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 3)  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 4)  เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพไปใช้ การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ระยะที่ 2  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ระยะที่ 3  พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ และประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 4  ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ โดยการประเมินก่อนและหลังการนำรูปแบบไปใช้ และเปรียบเทียบผลการประเมินการนำรูปแบบไปใช้ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม  แบบประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และสถิติ t (t-test)

ผลการศึกษา พบว่า

  1. ผลสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ พบว่า ประกอบด้วย 1) การสร้างหลักสูตร 2) การพัฒนาลักษณะนิสัยผู้เรียน 3) การจัดการชั้นเรียน 4) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 5) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 6) การประเมินการเรียนรู้
  2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ได้แก่ การพัฒนาลักษณะนิสัยนักเรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการชั้นเรียนตามลำดับ
  3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้  1) การสร้างหลักสูตร มี  6 องค์ประกอบย่อย  2) การพัฒนาลักษณะนิสัยผู้เรียน มี 6 องค์ประกอบย่อย 3) การจัดการชั้นเรียน มี  6 องค์ประกอบย่อย 4) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  มี 6 องค์ประกอบย่อย 5) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มี 6 องค์ประกอบย่อย  6) การประเมินการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบย่อย ผลการการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ มีความถูกต้อง การใช้ประโยชน์  ความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
  4. การเปรียบเทียบผลการประเมินก่อน และหลังนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพไปใช้โดยรวมทุกด้าน และรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (2552-2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เชาวรินทร์ แก้วพรม. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21(4), ตุลาคม-ธันวาคม.

ทัศนี พนมสารนรินทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนอย่างมืออาชีพตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9, 237-246.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2561). เรื่องเล่า : วิธีวิทยาแนวใหม่ในการแสวงหาความรู้เพื่อการวิจัยทางสังคม.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 10(2), กรกฎาคม–ธันวาคม.

บุญยฤทธิ์ ปิยะศรี. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.) (หลักสูตรและการสอน). นครปฐม :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปนิดา พัฒนโชติ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูมืออาชีพสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). ครูในศตวรรษที่ 21 Teachers in the 21st Century. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(1), มกราคม-กุมภาพันธ์.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านคลองหิน. (2563). การรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา2563. บุรีรัมย์ : โรงเรียนบ้านคลองหิน.

วาสนา มะณีเรือง. (2559). รูปแบบการพัฒนาครูเก่งครูดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชุดา มาลาสาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ศิริสุภา เอมหยวก. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพสำหรับครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สกุณา บุญรอดรัมย์. (2564). รูปแบบการการพัฒนาครูมืออาชีพระดับประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(1), มกราคม-กุมภาพันธ์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สกศ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุรีย์มาศ สุขกสิ. (2563). การศึกษาความต้องการพัฒนาครูมืออาชีพสู่ความเป็นประเทศไทย 4.0 .วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(4), เมษายน-มิถุนายน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite