การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ : ศึกษากรณีรถยนต์ไร้คนขับ

ผู้แต่ง

  • สหชัย บุญสิน นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ประสบภัยจากรถยนต์, รถยนต์ไร้คนขับ, การประกันภัย

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์และความเป็นมาของรถยนต์ไร้คนขับ ศึกษากฎหมายความรับผิดกรณีของรถยนต์ไร้คนขับของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาเสนอแนะเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ประสบภัย กรณีของรถยนต์ไร้คนขับ

          จากการศึกษาพบว่า (1) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของไทย ยังไม่ปรากฎความหมายของรถยนต์ไร้คนขับ ต่างกับสหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้มีการบัญญัติความหมายไว้อย่างชัดเจน (2) ประเทศไทยยังไม่ปรากฎมีบทบัญญัติความรับผิดของผู้ควบคุมรถยนต์ไร้คนขับเป็นการเฉพาะ ในขณะที่กฎหมายต่างประเทศกำหนดความรับผิดของผู้ควบคุมรถยนต์ไร้คนขับในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย รวมถึงทรัพย์สินด้วย  (3) การกำหนดประกันภัยภาคบังคับ ไม่เหมาะสมสำหรับเจ้าของรถยนต์ไร้คนขับ โดยกฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐ ไม่มีข้อกำหนดการประกันภัยภาคบังคับที่ใช้เฉพาะกับการใช้รถยนต์ไร้คนขับ (4) ความรับผิดกรณีเกี่ยวกับโปรแกรมรถยนต์ไร้คนขับนั้นมีเพียงสหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐสิงคโปร์ต่างก็กำหนดความรับผิดไว้แต่มีรายละเอียดลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน

          ข้อเสนอแนะ แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 5 รถยนต์ไร้คนขับ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และกำหนดคำนิยามของรถยนต์ไร้คนขับ กำหนดความรับผิดของผู้ที่จะต้องรับผิดให้ชัดเจน และกำหนดความรับผิดกรณีเกี่ยวกับโปรแกรมรถยนต์ไร้คนขับที่เกิดบุคคลภายนอกที่จารกรรมโปรแกรม

References

ณิชกานต์ รัตนเดช. (2563). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทดสอบและใช้งานยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติบนถนนสาธารณะ. วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี,15 (20).

ธนาคารกรุงเทพ, (2564). ยานยนต์ไร้คนขับ’ โลกใบใหม่แห่งวงการยานยนต์. สืบค้าจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/autonomous-car-new-world-of-automotive(ตุลาคม 2564)

เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก. (2562). ระบบการทำงานของนวัตกรรมแห่งอนาคต.ข้อมูลออนไลน์ https://ngthai.com/auto/19152/isselfdrivingcarsafety/ (20 มิถุนายน 2564)

ภูมินทร์ บุตรอินทร์.(2564). ประเด็นท้าทายทางด้านกฎหมายในยุค IOTs : ศึกษากรณีความรับผิดจากการใช้งาน Smart Car. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์), คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุพันธุ์ อุดมสุวรรณกุล, ภูมิภัทร อุดมสุวรรณกุล. (2564). ยานยนต์ไร้คนขับจะเปลี่ยนประกันภัยอย่างไร?. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/917783 ( 20 มิถุนายน 2564)

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.(2563).แนวทางในการจัดทำร่างกฎหมาย. กรุงเทพฯ:บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2565). สาระสำคัญการประกันภัยรถภาคบังคับ. สืบค้นจาก https://www.oic.or.th/th/consumer/%E0%B8%AA (20 มิถุนายน 2564)

อรญา วิริยะธนาวุฒิวงษ์.(2563).ยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) และความรับผิดทางกฎหมาย.กฤษฎีกา โฟกัส สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,16(182) (สิงหาคม).

pttexpresso,(2564).เทคโนโลยีรถไร้คนขับ ใครได้รับผลกระทบ?,.สืบค้นจากhttps://blog.pttexpresso.com/impacts-of-autonomous-vehicles/(เมษายน 2566)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

บุญสิน ส., & พินทุสรศรี เ. . (2024). การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ : ศึกษากรณีรถยนต์ไร้คนขับ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(3), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273364