รูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ฐิติชัน ลุนสูงยาง นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุภาพ ผู้รุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, องค์การแห่งความสุข , โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา (2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุขโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา  การวิจัยนี้ เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและเป็นการสัมภาษณ์  มีหน่วยงานที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 297 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามลักษณะสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีสถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI)   

ผลการวิจัยพบว่า  

  1. องค์ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา มีจำนวน 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ 1) ด้านคน มีความสำคัญมากที่สุดของรูปแบบ 2) ด้านการบริหารจัดการ มีความสำคัญรองลงมาของรูปแบบ และด้าน 3) ด้านสิ่งแวดล้อม 4) ด้านความสมดุลในชีวิต มีความสำคัญตามลำดับ
  2. สำหรับการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข มีจำนวน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การลงมือทำ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม และองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุของค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ 4) แนวทางการประเมินรูปแบบ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข พบว่า มีความเห็นพ้องต้องกันว่า มีความเหมาะสม และเป็นไปได้

References

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2. พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์. (2556).

ณัฐพงษ์ น้อยโคตร. (2565). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.

ประพนธ์ ผาสุกยืด.(2562). Happy workplace สวรรค์ในที่ทำงาน. เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. เข้าถึงได้จาก. https://km.ra.mahidol.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=596

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังความแห่งชาติ

พจรินทร์ เหลืองอริญนภา. (2556). “ทักษะการบริหารของผู้บริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อ ความสุขในการทำงานของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,

ศิริเชษฐ์ สังขะมาน. (2560). เปิดสถานการณ์สุขภาพคนในภาครัฐเล็งพัฒนาความสุขราชการไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or/Centent/38493.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). การบริหารสำหรับครู (ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุพัตรา แซ่ซิ้ม. (2554). “ความสุขในการทางานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตหนองจอกสังกัดสานักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา,

อิสรีย์ ทองคำ. (2554). “แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุข เทศบาลตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี” รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Andrew D. (1984). Management and Performance. 3 rd ed. Glenview: Scot, Foresman

Brown and Moberg. (1980). Organization theory and management a macro approach. New York : John Wiley.

Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. MIT Press.Ketchian, L. Happiness at work. Retrieved. Accessed August 20, 2017. Available from http//www.Happinessb Club.com.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.

Manion, J. “Joy at Work: Creating a positive Workplace.” Journal of Nursing Administration. (2003): 652-655.

Steiner, E. (1988). Methodology of theory construction. n.p: Ecology Research Associates.

War, P. Work, Happiness and Unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite