ภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ผู้นำที่แท้จริง, การบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำที่แท้จริง (2) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำที่แท้จริงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง รองลงมา คือ ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการมองโลกในเชิงบวก
- การบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการบริหารงานทั่วไป
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ต่อการบริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส และ ด้านการมองโลกในเชิงบวก ตามลำดับ ความสำคัญใหม่ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.910 และสามารถอธิบายความผันแปรของภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 82.80 (R2=0.828) และผลการทดสอบสมมติฐานภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานราชการครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤติมา มะโนพรม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริง ทัศนคติในการทำงานและพฤติกรรมใน การทำงาน : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของความไว้วางใจและการเสริมสร้างพลังอำนาจทางจิตใจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี.(2554).อิทธิพลของการรับรู้ต่อการสนับสนุนจากองค์การและการสนับสนุนจากหัวหน้างานที่มีต่อ ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารไทย.สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ธนปกรณ์ เกตุวิเศษกูล.(2563).การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาเอกชน.หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยการบริหารการศึกษา. โรงพิมพ์ ทีคอม จังหวัดมหาสารคาม.วิทยาลัยทองสุข.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รายงานการปฏิบัติตนสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) ปี 2565.(2565)
วรรณวิสาข์ รัตนพันธ์.(2564). ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
วรรณวิสาข์ รัตนพันธ์.(2564).ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
วันทิพย์ สามหาดไทย. (2560). ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย .(2556).บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค
สุธาสินี แสงมุกดา. (2554). การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ คศ.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย. กรุงเทพฯ.
อุษา ชูชาติ และลัดดา อินทร์พิมพ์ .(2558).บทวิเคราะห์: มุมมองด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี(พลเอกระยุทธ์จันทร์โอชา). วารสารวิจัยการศึกษา.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Avolio, B. and Gardner, W.L. (2005). Authentic Leadership Development: Getting to the Root of Positive Forms of Leadership. The Leadership Quarterly, 16, 315-338.
George, B. (2007). True North: Discovery Your Authentic Leadership. San Franciso: Jossey-Bass.
Klenke, K. (2007). Authentic Leadership: A Self, Leader, and Spiritual Identity Perspective. International Journal of Leadership Studies, 3(1), 68-97.
Luthans,F., & Avolio, B. J. (2003). Authentic leadership: A positive developmental approach. In Cameron, K., Dutton, J., & Quinn, R. E. (Eds.), Positive organizational scholarship: Foundations of a new discipline. Berrett-Koehler.
Roche, M. (2010). Learning Authentic Leadership In New Zealand: A Learner-Centred Methodology and Development. American Journal of Business Education, 3, 71-79.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์