ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สุคลธรส มิ่งจันทร์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • สุชีรา สายะรัตนชัย อาจารย์ สาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหาร, คุณภาพชีวิตครู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 152 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้ค่าความเชื่อมั่น .911 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัย

  1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือ 3 ห่วง รองลงมา คือ 2 เงื่อนไข ตามลำดับ
  2. คุณภาพชีวิตครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม รองลงมาคือ ด้านความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านจังหวะชีวิต ด้านการบูรณาการด้านสังคม และอันดับสุดท้ายคือ ด้านประชาธิปไตยในการทำงาน ตามลำดับ
  3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูด้วยวิธี พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.900 และสามารถอธิบายความผันแปรของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 90.00 (R2=0.911) และผลการทดสอบสมมติฐาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาและประเมิน สถานพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ.(2553).ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์,กรุงเทพมหานคร

ณัฐพร เอี่ยมหรุ่น.(2561).การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8.ภาควิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร.(2552).ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.คณะบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยการบริหารการศึกษา. โรงพิมพ์ ทีคอม จังหวัดมหาสารคาม.วิทยาลัยทองสุข.

พิมพิดา โยธาสมทรุ.(2553). ปัญหาการศึกษาของเด็กไทย . ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563 . จาก : http://thainews.prd.go.th/view. php?m_newsid=255309270242&tb= N255309/รายงานการปฏิบัติตนสถานศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) ปี 2565. (2566)

วิไลวัลย์ พรหมมา.(2562).การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมศกัดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง. (2542). การบริหารบุคลากรและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อัจฉรา โยมสินธุ์. (2558). วิจัยเชิงพัฒนาชีวิตสมดุลของครูพอเพียงแบบอย่าง. (ออนไลน์) Available : http//www.youtube.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

มิ่งจันทร์ ส. . ., กำหอม ใ. . ., & สายะรัตนชัย ส. . . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 348–363. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273161