ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พงศธร เป็นสูงเนิน นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • จีระพันธ์ นามชวัด อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • อภิรัฐ เจาะจง อาจารย์ สาขาการศึกษา วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริหาร, การจูงใจ , การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการจูงใจของครูในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. พฤติกรรมผู้บริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านเข้าใจสถานการณ์ รองลงมา คือด้านเน้นการวงแผน ด้านชี้แนะบุคลากรพร้อมกำหนดบทบาทอย่างอีสระด้านขอคำปรึกษาจากผู้รู้ ด้านให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา ด้านตักเตือนและสอดส่องบุคลากรที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ด้านให้คำแนะนำกับบุคลากรที่ขาดประสบการณ์ และอันดับสุดท้ายคือด้านสนับสนุนบุคลากรที่รับผิดชอบงานที่มีความสำคัญ
  2. การจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านกายภาพในที่ทำงาน รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านระบบการบังคับบัญชา และอันดับสุดท้ายคือด้านสวัสดิการและชีวิต
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.913 และสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 88.80 (R2=0.888) และผลการทดสอบสมมติฐาน พฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม พบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้อง และพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ดวงพร วองสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อํานาจของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกําลังใจใน การปฏิบัติงานของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลนีราชมงคลธัญบุรี.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยการบริหารการศึกษา. โรงพิมพ์ ทีคอม จังหวัดมหาสารคาม.วิทยาลัยทองสุข.

ปฏิภาณ เหตระกูล.(2561).รูปแบบจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร.หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยพะเยา

โรสนี จารงค์.(2563).การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

วนัทปรียา ฉลูศรี.(2564).ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชธานี

วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศุภมาส วนากุล. (2556). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สงวน ทรงวิวัฒน์.(2563).ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศขององค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สมรักษ์ ท้าวเครือ.(2565).การเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพมหานคร

สาธิต วงศ์อนันต์นนท์. (2557). การปฏิรูปการศึกษาไทย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต บทความวิชาการ. สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ การเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ

สุธาสินี เพชรกระจ่าง.(2559). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.ภาควิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques.3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Egan, T.M.; Upton, M.G. and Lynham, S.A. (2006).Career Development: Load – Bearing Wall or Window Dressing? Exploring Definitions, Theories and Prospects for HRD Related Theory Building. Human Resource Development Review. 5 (4) 2006: 442-477.

Gibson, J.L., Ivancevich, J.M. and Donnelly, J.H. (1973) . Organizational : Structure, Process,Behavior. Texas : Business Publications, Inc.

Maki, M. J. (2001). School as learning organizations: How Japanese teacher learn to perform noninstructional tasks. (Doctor of Philosophy Dissertation, University of British Columbia).

O'connor, DM.; et al. (2006). Effects of static stretching on leg power during cycling.The Journal of Sports Medicine And Physical Fitness. 46(1): 52-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite