แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทศพล สีกองคำ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ถนัด ยันต์ทอง อาจารย์ สาขาวิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น , การบูรณาการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2) บูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา  ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากร ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้  ได้แก่ปราชญ์ท้องถิ่น  ผู้อาวุโสหรือ ผู้มีความรู้ในท้องถิ่น  2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ครู นักเรียน ชาวบ้าน ผู้นำ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  3) กลุ่มบุคคลทั่วไป ประชาชนทั่วไปที่เคยเข้ามาท่องเที่ยวที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. “พลูตาหลวง” มีที่มาจากตำนานเรื่องเล่าขานถึง “ตาหลวง” ชายชราผู้ครอบครองที่ดินในเขตนี้และเป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป นอกจากนี้อาณาเขตพื้นที่นี้ยังเต็มไปด้วยภูเขาล้อมรอบ ภายหลังเมื่อมีการจัดตั้งเป็นตำบลชื่อ “พลูตาหลวง” ซึ่งคำว่า “พลู” เป็นการกร่อนคำมาจากคำว่าภูเขา และผนวกรวมกับชื่อของ “ตาหลวง” จึงเรียกชื่อว่า “พลูตาหลวง”มีองค์ความรู้ภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านการเกษตร “หนามยอกเอาหนามบ่ง” ภูมิปัญญาด้านสมุนไพร “ธาตุต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นรากแรกเกิดของโรค” และ ภูมิปัญญาด้านป่าชุมชน “ศาลหลวงเตี่ยพลูตาหลวง”
  2. บูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้แก่  ส่วนที่ 1  การสร้างแผน  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร ขั้นการสํารวจพื้นที่และทรัพยากร ขั้นการจัดอันดับศักยภาพทรัพยากร ขั้นการกําหนดแผน ขั้นการจัดทําเอกสารประกอบแผน ส่วนที่ 2 การพัฒนาแผน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวางแผนก่อนจัดกิจกรรม ขั้นปฏิบัติกิจกรรม  ขั้นสังเกตการณ์ระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังนักเรียนความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และเกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นและเกิดการเรียนรู้

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2564).การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กระบวนทัศฯ การส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฐาปนา บุณยประวิตร. (2556). การใช้แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ในการวางแ ผ น ที่อยู่อาศัย ของประเทศสิงค์โปร์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://www.asiamuseum.co.th

ณฤณีย์ ศรีสุข.(2564).นิเวศวิทยาวัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการ.สูตรสาขาวิชาพระพุทธศาสนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

ในตะวัน กำหอม. (2559). ผ้าหมี่ : การอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อส่งเสริมวิถี วัฒนธรรมชุมชน ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดความหลากหลายทางวัฒนธรรม. คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 12(26),พฤษภาคม-สิงหาคม

ปราณี ตันตนานุบุตร.(2555). ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พระวีรศักดิ์ จนฺทวํโส, พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ และ พระเอกรัตน์ มหามงฺคโล. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาสังคมศึกษา. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 8(2), 85-92.

ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.

วรนันท์ ฉายารัตน์.(2564).การท่องเที่ยวเศรษฐกิจตามเส้นทาง EEC : พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเศรษฐกิจตามเส้นทาง EEC พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเพื่อบูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 2.หลักสุตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชา สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยทองสุข

ศรีศักร วัลลิโภดม .(2551). มือฉุกคิด : ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาภายในและสํานึกของท้องถิ่น. กรุงเทพ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

สมศักดิ์ อยู่บริบูรณ์.(2558).การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลพูตาหลวงอำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์.คณะครุศาสตร์.มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง.(2565).สืบค้นจาก https://www.plutaluang.go.th/contactus

อนุกูล ตันสุพล.(2559).นิเวศวิทยาวัฒนธรรม : กุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Berkes, F.(1999). Sacred ecology: traditional ecological knowledge and resource management. Taylor and Francis.

Gagne, Robert M. 1977. The Conditioning. New York : Holt Rinchart and Winston Inc.

Geoffrey, L. (2005). Sustainable Sufficency: An Internally Consistent version of Sustainability. Sustainable Development. 13: 53-58.

Maass, Petra .(2008). The Cultural Context of Biodiversity Conservation. Seen and Unseen Dimensions of Indigenous Knowledge among Q'eqchi' Communities in Guatemala. Göttingen: Göttinger Universitätsverlag

McCoy, Thomas Michael. (2003). Developing Local Improvemet Plans in High Schools Using Action Research. Dissertaion Abstracts International. 63(7) : 2500-A

Robert H.Winthrop.(1991). Dictionary of Concepts in Cultural Anthropology. Greenwood Press. New York. Pp.47-49.

Turner, B. L., II .(2002).Contested identities: human-environment geography and disciplinary implications in a restructuring academy. Annals of the Association of American Geographers 92(1): 52-74.

Young, H.P., Sheriff, A. and Naeger,S. (2009). A Bottom-up Definition of Self-sufficiency: Voices from Low-income Jobseekers. Qualitative Social Work. 8(3) : 357-376.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

สีกองคำ ท. . ., ยันต์ทอง ถ., & กำหอม ใ. . . (2024). แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 315–330. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273154