ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การจัดการขยะ, ประสิทฺธิภาพ, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเขตเทศบาล (2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาล (3) เสนอแนะแนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาลตำบลวังพร้าว ประชากรที่ใช้ จำนวน 5,381 คน กลุ่มตัวอย่าง 372 คน สุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูป เครจซี่และมอร์แกนระดับเชื่อมั่น 95% แบบสอบถาม รวบรวมข้อมูล สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าความถี่ ร้อยละ การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบ ค่าไคสแควร์วัดทิศทางความสัมพันธ์ ตัวแปรค่่าแกมม่า ที่ระดับสัมพันธ์ทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษา พบว่า
- ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาล พบว่า (1) ด้านความตรงต่อเวลาการให้บริการเก็บขยะ (2) ความพร้อมอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะจำนวนเพียงพอ (3) จำนวนถังขยะเพียงพอ (4) การให้ความรู้ในการจัดการขยะ (5) การประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ถูกต้อง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยระดับน้อย
- ปัจจัยด้านความตรงต่อเวลาการให้บริการเก็บขยะ ด้านความพร้อมอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะจำนวนเพียงพอ ด้านจำนวนถังขยะเพียงพอ ด้านการให้ความรู้ในการจัดการขยะ ด้านการประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ถูกต้องเห็นส่งผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
- ข้อเสนอแนะควรศึกษาตัวแปรอิสระให้มากขึ้น เช่น สภาพรถเก็บขยะ วิธีกำจัดขยะ 2) ศึกษา ความพึงพอใจจัดการเก็บขยะในหน่วยงานอื่นในจังหวัดลำปาง ระดับความพึงพอใจของประชาชน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจเพื่อนำเอาผลมาพัฒนาวิธีการจัดเก็บขยะหน่วยงานภาครัฐ ต่อไป
References
กนกวรรณ ศรมณี และโชติ บดีรัฐ. (2565). การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตตำบลท่าเอี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสาร Journal of Modern Learning Development ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนมิถุนายน 2565.
กรมควบคุมมลพิษ, 2566, สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/08/pcdnew-2023-08-31_07-45- 46_415782.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (2566).รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2565. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/08/pcdnew-2023-08-31_07- 45-46_415782.pdf
คณิญา พงษ์ศิริ. (2564). ตัวแบบการจัดการการจัดเก็บและขนถ่ายขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1), 1572-1587.
ชัชวาล ฉายะบุตร. (2564). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัด” ประจำปี พ.ศ.2560-2566. สืบค้น เมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 จาก https://radiolampang.prd.go.th/th/content/page/index/id/235872
ณัฐปภา สืบศรีและคณะ. (2566). การศึกษาความพึงพอใจในการบริหารจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางโอก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ (Ratanabuth journal) ปีที่ 5 ฉบับที่ 1(มกราคม-เมษายน 2566)
พนิศา สังเวียน และวันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ. (2565). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/45944/52150
เทศบาลตำบลวังพร้าว. (2565). งานทะเบียนเทศบาลวังพร้าว 2565. อำเภอเมืองลำปาง:เทศบาลตำบลวังพร้าว.
รุ่งฤดี ศิริอารุณปัญญา. (2565). ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการในการคัดแยกขยะมูลฝอยและการนำขยะมูลฝอย ไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล (2564). เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง,โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). ราชกิจจานุเบกษา.สืบค้นวันที่ 8 กันยายน 2564 จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/ pictures/comm/52/lawguide/law1/6.pdf
สำนักงานเทศบาลตำบลวังพร้าว. (2565). รายงานประจำปีของเทศบาลตำบลวังพร้าว 2565.สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.wangprao.go.th/wp-content/uploads/2023/08/pcdnew-2023-08-31_07- 45-46_415782.pdf
อัญธิกานต์ จันศรี. (2564). แรงจูงใจและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 69-78.
Adeogun. S. O, O. E. Fapojuwo and M. T. Ajayi. (2011). Motivation Factors Affecting Employees Job Performance in Selected Agricultural Oil Palm industries in EDO State, Nigeria: Global Journal of Agricultural Sciences.
Harrington, H. James and James S. Harrington. (1996). High Performance Benghmarking-20 Step o Success. New York: McGra
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์