การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ ในรายวิชา การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
คำสำคัญ:
การจัดการเรียน, การเขียนโปรแกรมอินเตอร์เน็ต , การสอนรูปแบบออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ ในรายวิชา การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น (2) เพื่อศึกษาปัญหาและเเนวทางในการศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 135 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก แท็ปเล็ต และสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ตามลำดับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต พบว่า นักศึกษาใช้ WIFI สมาร์ตโฟน ตามลำดับ โปรแกรมออนไลน์ที่นักศึกษาเคยเรียน ได้แก่ Google Classroom, Meet, Zoom Facebook, Line, Messenger ตามลำดับ โปรแกรมออนไลน์ที่นักศึกษาสะดวกเรียนมากที่สุด ได้แก่ Meet ,Zoom ,Google Classroom ,Line , Facebook , Messenger ตามลำดับ รูปแบบการเรียนออนไลน์ที่นักศึกษาชอบมากที่สุด ได้แก่ การเรียนแบบผสมผสาน (เช่น เรียนแบบสอนสดสลับกับมอบหมายงาน) การเรียนออนไลน์แบบคลิปสอน การเรียนออนไลน์แบบสอนสด การเรียนแบบมอบหมายงานและนำเสนองาน (ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายบุคคล/รายกลุ่ม) ตามลำดับ โปรแกรมที่นักศึกษาสะดวกใช้มากที่สุด ในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนระหว่างเรียนออนไลน์ ได้แก่ Line ,Messenger , Google Classroom , Facebook ตามลำดับ
2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์รายวิชา BC 411 การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ตมีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก () = 3.86, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทักษะการเรียนรู้นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.91, S.D. = 0.72) ด้านสื่อการจัดการเรียนการสอนนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.89 , S.D. = 0.78) และด้านการจัดการชั้นเรียนและบรรยากาศการเรียนรู้ นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.79, S.D. = 0.74) ตามลำดับ
References
มีสิทธิ์ ชัยมณี (2566) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี รายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์) 18(1),54-65
ยงยุทธ ขุนแสง เป็นการนำเสนอการออกแบบบทเรียนออนไลน์ โดยใช้รูปแบบจำลองการสอนเชิงระบบ ADDIE Model บนเครือข่าย Google Classroom ในระดับประถมศึกษา วารสารรามคำแหง 5(2),70-81
เอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ. (2563). ศธ. ยืนหนึ่งเรียนออนไลน์ สู้ภัย COVID-19 "โรงเรียนหยุด ความรู้ไม่หยุด ". ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th/
วิทยา วาโย, อภิดี เจริญกู, ฉัตสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาตของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัย,9,14(34), 285-298.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์