การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ภริกา ผ่องแผ้ว นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

เอกสารประกอบการสอน, กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา, ฟุตบอล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการใช้เอกสารประกอบการสอน และ 3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนชุมชนดอนตาล ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการลุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และคู่มือการใช้เอกสารประกอบการสอน มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการทดลองใช้เอกสารประกอบการสอนพบว่าครั้งที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.77/80.97 และครั้งที่ 2 มีประสิทธิภาพ 84.65/83.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 42.32 ของคะแนนเต็ม และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 83.21 และมีคะแนนพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 40.00
  3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2555). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

จารุวรรณ ภูศรีอ่อน. (2553). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุริวิยาสนาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยุภาพร สุนทะโรจน์. (2552). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง จังหวัดของเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิชัย ตันศิริ. (2549). การศึกษากับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: วี.ซี.ที. คอมมิวนิเคชั่น.

วีระ ตันตระกูล และประชา นิพนธ์พิทยา. (2559). โสตทัศนศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดา ใบแย้ม. (2559). เอกสารหมายเลข 4 การเรียนการสอน: ทำไมต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.

สุพรรณี นารี. (2552). การศึกษาการใช้การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนที่มีประสิทธิภาพและความคงทนของการเรียนรู้เรื่องการสะกด วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). การปฏิรูปการศึกษาในภาวะยุคการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

Jacob,P. (1966). A guide to evaluating self-instructional programs. New York: Holt, Rinehart and Winston Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite