คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • จิระกันตม์ ปิยะธาราธิเบศร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน , ความผูกพันต่อองค์การ , ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดนนทบุรี จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1.ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความพึงพอใจ ด้านการผลิต ด้านประสิทธิภาพ ด้านการอยู่รอด ด้านการพัฒนาเพื่อประสิทธิผลองค์การ และด้านการปรับตัว ตามลำดับ

  1. คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ ด้านภาวะผู้นำ ด้านงาน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการปฏิบัติงานในสังคม และด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนนทบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ควรส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามพันธกิจขององค์การ กำหนดนโยบายที่มีความเป็นรูปธรรมและปฏิบัติจริง ตามระเบียบ ข้อบังคับ ที่มีความเหมาะสมกับองค์การ เพื่อก่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และมีความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ

References

กองสวัสดิการแรงงาน. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลดา อักษรศิริวิทยา.(2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ทวีศักดิ์ ขันติยะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ทวีศักดิ์ ขันติยะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ผจญ เฉลิมสาร. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับกลาง : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร จังหวัดฉะเชิงเทรา. ภาคนิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นทีรัย เกรียงชัยพร และอุทัย เลาหวิเชียร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณภาพชีวิตงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค. วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 30, 71 - 82.

ปณิชา มนต์ทอง. (2562). คุณภาพชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มานิตย์ ซาผู. (2563). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด. รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 11. การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาญ เคยการ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับแรงจูงใจของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการTRDM: ปทุมธานี.

ศักดิ์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2563). องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากร

สราวุธ วรดิษฐวงษ์. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน. วิทยานิพนธ์, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Baron, R.A. (1986). Belavior in Organization. Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Gibson, et al. (1979). Organizational Behavior Structure Process Behavior Dallas. Taxas: Business Publication, Inc.

Guest, Robert H. (1979). Quality of Work Life : Learning from Tarrytown. Harvard Business Review, 9 (7), pp. 76-87.

Patrick M. Lencioni. (2012). The Truth About Employee Engagement. Welearn International Group (WIG), Publisher.

Richard E. Walton (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4 (7), 20-23.

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite