รูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (IKCLA) โดยใช้สื่อประสม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ กะการดี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านตึกชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2

คำสำคัญ:

รูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์, สื่อประสม, ตรรกยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสมชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1) ศึกษารูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสมชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านตึกชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2565 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33  ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) สื่อประสมชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบสอบถามความพึงใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความยากง่าย  ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตร KR – 20  และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (IKCLA) โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. หลักการ  2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการสอน และ 4. การประเมินผล  โดยกระบวนการสอน 5 ขั้นได้แก่  1) สร้างแรงบันดาลใจ (inspire) 2) แสวงหาความรู้ (knowledge ) 3) สร้างสรรค์ความคิด (creative ideas)  4) ออกแบบการเรียนรู้ (learning design) และ 5) ประยุกต์ใช้ (application) และ ประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.14/78.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อประสม ชุด จำนวนตรรกยะน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.27

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

จริยา เหนียนเฉลย. (2558). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

จิตติมา ศีลประชาวงศ์. (2560). การออกแบบและพัฒนาสื่อประสม. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ทิศนา แขมมณี . (2553). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ลัดดาวรรณ วองไว. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สําหรับครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

วีรยุทธ พลายเล็ก. (2563).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการและจิตคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี วัดกลุ่มมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ ู และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

Calik, M., Ayas, A., & Coll, R. K. (2010). Investigating the effectiveness of teaching methods based on a four-step constructivist strategy. Journal of Science Education and Technology, 19(1), 32-48.

Joyce, B.,& Weil, M. (1996). Model of Teaching (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite