การพัฒนารูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ญาจิตร แก้วมีศรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านตึกชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การนำไปทดลองใช้ และ 4) การประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตึกชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ในปีการศึกษา 2564 ใช้เวลาในการทดลอง 22 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด(TRG2E) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนรู้ และ (4) การปะเมินผล โดยกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด (thought provoking) ขั้นที่ 2 ค้นคว้าหาความรู้(research) ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูล (gather information) ขั้นที่ 4 ขยายความรู้เพิ่ม (expand more knowledge) และ ขั้นที่ 5 ประเมินผลลัพธ์ (evaluate the results) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 82.10/83.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการเรียน
    รูปแบบเสริมพลังทักษะกระบวนการคิด (TRG2E) โดยใช้สื่อประสม ชุด แรงน่ารู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.35

References

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จริยา เหนียนเฉลย. (2548). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2553).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

___________. (2558). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พัฒนี นุ่นชูคัน. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 .Journal of Modern Learning Development.

วนิดา ศรีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

แสงมณี อยู่พุก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือน กันยายน – ธันวาคม 2562. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิลาวัณย์ พินสุวรรณ และ คณะ. (2555). ผลการใช้หนังสือภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Anderson, T. P. (1997). Using models of Instruction. In C. R. Dills and A.J. RomisZowski (eds.), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Education Technology Publications.

Joyce, B.,& Weil, M. (1996). Model of Teaching (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Kruse, K. (2013). Instructional design. Retrieved March 14, 2012, from http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite